แผนการจัดกิจกรรม
“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
ออกกำลังกายแบบแอโรบิก
(Aerobic Exercise)
โดย
ว่าที่ร้อยตรีหญิงจิราภรณ์ เกียนแก้ง
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
โรงเรียนโคกสลุงวิทยา
อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
แผนการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
1.
ชื่อกิจกรรม ออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic Exercise)
ด้าน พลศึกษา (Health)
หมวดที่ 4 สร้างเสริมทักษะการทำงาน
การดำรงชีพและทักษะชีวิต
กลุ่มที่ 16 สร้างเสริมสมรรถนะทางกาย
2.
เวลาที่ใช้ 4 ชั่วโมง
3.
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับประเภทของการออกกำลังกายแบบต่างๆ
และการสร้างสรรค์ท่าทางในการประกอบการเต้นแอโรบิกได้
2. เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
3.เพื่อให้นักเรียนเกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
4.เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ
ในหลาย ๆ รูปแบบ เช่น Non
– Impact , Low – Impact , High – Impact และ Multi – Impact ตามขั้นตอน
4.
กิจกรรมการเรียนรู้
1. ครูแจกใบความรู้เกี่ยวกับการเต้นแอโรบิก พร้อมอธิบายในกิจกรรมกายบริหาร การออกกำลังกายด้วยกิจกรรมแอโรบิก
และประเภทของแอโรบิก
ประเภทของเพลงที่ใช้ในการประกอบท่าทาง
การฟังเสียงจังหวะ การนับจังหวะ ฯลฯ
2.
ครูให้นักเรียนชมสื่อวีดิทัศน์
ท่าประกอบการเต้นแอโรบิก และอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับชื่อท่าต่างๆ
ที่นักเรียนได้ชม เปิดโอกาสให้นักเรียนสอบถาม
พูดคุย และแลกเปลี่ยนความคิด
3. ครูสาธิตการปฏิบัติท่าทางในแต่ละท่าของแอโรบิก ประเภท
Non – Impact, Low – Impact , High – Impact และ Multi
– Impact ตามขั้นตอน พร้อมอธิบายประกอบแต่ละท่าทาง
และให้นักเรียนทุกคนปฏิบัติตาม ครู
4.ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น
4 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆ กัน
โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มไปฝึกซ้อมท่าทางในเต้นแอโรบิกตามท่าต่างๆ
ที่ได้เรียนไป
5.ครูคอยสังเกต
และให้คำแนะนำในการเต้นประกอบท่าทางที่ถูกต้อง ตามขั้นตอน
6.ครูให้แต่ละกลุ่มออกมาปฏิบัติการเต้นแอโรบิกในท่าทางต่างๆ
ที่ได้ฝึกซ้อมเพื่อแก้ไข การออกท่าทาง
7.ครูให้แต่ละกลุ่มออกแบบท่าทางที่ใช้ในการเต้นแอโรบิก
ประกอบเพลง จำนวน 1 เพลง เพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียน ครูประเมินผลการปฏิบัติเป็นรายบุคคล
และภาพรวมของกลุ่ม
5.
สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
1. สื่อวีดิทัศน์
การเต้นประกอบท่าทางของแอโรบิกเพื่อสุขภาพ
2. ใบความรู้ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก Aerobic Exercise
6.
การวัดและประเมินผล
-
การเต้นประกอบท่าทางและการออกแบบท่าทางของแอโรบิก
-
ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน
7.
ภาพประกอบ
8.
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล แอโรบิกอย่างง่าย
เอกสารประกอบการสอน การออกกำลังกายแบบแอโรบิก
ของ
ดร.สุกัญญา พานิชเจริญนาม พ.ศ.2551
ใบความรู้
การออกกำลังกายแบบแอโรบิก Aerobic Exercise
คำว่า
แอโรบิก (aerobic) มาจากศัพท์กรีกโบราณ แปลว่า
อากาศและชีวิต ซึ่งหมายถึงออกซิเจนมาเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต โดยหมายถึง
ความต้องการอากาศของสิ่งมีชีวิตในการดำรงชีวิต
การออกกำลังกายแบบแอโรบิก
เป็นการออกกำลังกายโดยใช้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ไม่หักโหม
เพื่อให้หัวใจเต้นประมาณ 65-80
% ของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ ติดต่อกันเป็น เวลาอย่างน้อย 15นาที ขึ้นไปจนเป็นชั่วโมง หรือ 2 ชั่วโมง
ถ้าออกกำลังกายตามลักษณะนี้ครบถ้วนทุกองค์ประกอบ จะเกิดผลดีต่อหัวใจ เส้นเลือดและ
ปอด คือ เป็นการบริหารระบบหัวใจและเส้นเลือด และระบบการหายใจ นั่นเอง หัวใจจะแข็งแรง
ไม่เหนื่อยง่าย เส้นเลือดและปอดมีการขยายตัวดี ช่วยลดโคเลสเตอรอลในเลือดได้ด้วย
นอกจากนั้นยังเป็นการการรักษาสัดส่วนของร่างกาย
|
จุดมุ่งหมายสำคัญของการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ก็คือ
ทำให้ร่างกายใช้ออกซิเจนให้มากที่สุด เท่าที่ร่างกายจะใช้ได้ ในเวลาที่กำหนด (ซึ่งจะไม่เท่ากันในแต่ละคน) ซึ่งในการออกกำลังกายแบบแอโรบิกนี้
ส่วน ของร่างกายที่จะต้องปรับตัวให้ทันกันก็คือ
1. ระบบหายใจจะต้องเร็วและแรงมากขึ้น
เพื่อจะได้นำเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น
พอที่จะไปฟอกเลือดที่จะต้องหมุนเวียนมากขึ้น
2. หัวใจจะต้องเต้นเร็วและแรงขึ้น
เพื่อจะได้สูบฉีดเลือดได้มากขึ้น เพราะขณะที่ออกกำลังกาย อย่างหนักนั้น
กล้ามเนื้อจะต้องการเลือดมากขึ้นประมาณ 10 เท่า
3. หลอดเลือดทั้งใหญ่และเล็กจะต้องขยายตัวเพื่อให้สามารถนำเลือดไปยังส่วนต่างๆ
ของร่างกาย
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การออกกำลังกายมากมายหลายอย่างที่ร่างกายต้องใช้ออกซิเจน
แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นการออกกำลังกาย แบบแอโรบิก เพราะทำไปแล้วไม่เกิดผลจาการฝึก เช่น
การวิ่งระยะสั้น ที่แม้ผู้วิ่งจะเหนื่อยมากระหว่างที่วิ่ง แต่ก็ด้วย
เวลาที่สั้นมาก หรือการยกน้ำหนักนับร้อยกิโลกรัม ซึ่งก็เป็นงานที่หนัก
การใช้เวลาเพียงอึดใจเดียวหรือนักกล้ามที่ ออกกำลังกายจนมีกล้ามมัดโตๆ
แต่ปอดและหัวใจอาจจะไม่มีความแข็งแรงทนทานเลยก็ได้
สรุปว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกนั้น
จะต้องทำให้หนักพอ จนหัวใจเต้นเร็วขึ้นจนถึงอัตราที่เป้าหมาย
จะต้องทำติดต่อกันให้นานพอประมาณถึง 15 ถึง 45 นาที (ถ้าทำหนักมากก็ใช้เวลาน้อย
แต่ถ้าทำหนักน้อยก็ใช้เวลามาก) ต้องทำบ่อยพอ
คืออย่างน้อยที่สุดสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ถึง 5 ครั้ง
Types of Aerobic Exercise
• Aerobic
Dance • Fitness
Walking
• Jumping
Rope • Running
• Stair
Climbing • Swimming
• Bicycling • Cross
Country Skiing
• In-line
Skating
ประเภทของแอโรบิกแดนซ์ โดยแบ่งจากการเคลื่อนไหวสามารถแบ่งออกมาได้ถึง 4 ลักษณะด้วยกัน
1. การเต้นที่มีแรงกระแทกต่ำ ( low impact aerobic dance)
การเต้นที่มีแรงกระแทกต่ำเป็นการเคลื่อนไหว ในลักษณะของการกระแทกระหว่างร่างกายกับพื้นบ้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้นหรือแทบจะไม่มีเลย เช่น การเดินหรือการย่อเข่า
2. การเต้นที่มีแรงกระแทกสูง ( high - impact aerobic dance)
การเต้นที่มีแรงกระแทกสูงเป็นการเคลื่อนไหว ในลักษณะของการกระแทกระหว่างร่ายกายที่ค่อนข้างรุนแรง เช่น การกระโดดลอยตัวและลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้งสองข้าง
3. การเต้นที่มีแรงกระแทกหลากหลาย ( multi - impact aerobic dance)
การเต้นที่มีแรงกระแทกหลากหลายเป็นกานเคลื่อนไหวในลักษณะของแรงกระแทกต่ำและแรงกระแทกสูงผสมกัน การที่ผู้เต้นจะใช้แรงกระแทกต่ำหรือกระแทกสูงมากขึ้นอยู่กับสมรรถภาพองผู้เต้นและจังหวะเพลง
4. การเต้นที่ปราศจากแรงกระแทก ( no- impact aerobic dance)
การเต้นแอโรบิกที่ปราศจากแรงกระแทก เป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ไม่มีแรงกระแทกร่างกายกับพื้น เช่น การเต้นแอโรบิกในน้ำ เป็นต้น
1. การเต้นที่มีแรงกระแทกต่ำ ( low impact aerobic dance)
การเต้นที่มีแรงกระแทกต่ำเป็นการเคลื่อนไหว ในลักษณะของการกระแทกระหว่างร่างกายกับพื้นบ้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้นหรือแทบจะไม่มีเลย เช่น การเดินหรือการย่อเข่า
2. การเต้นที่มีแรงกระแทกสูง ( high - impact aerobic dance)
การเต้นที่มีแรงกระแทกสูงเป็นการเคลื่อนไหว ในลักษณะของการกระแทกระหว่างร่ายกายที่ค่อนข้างรุนแรง เช่น การกระโดดลอยตัวและลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้งสองข้าง
3. การเต้นที่มีแรงกระแทกหลากหลาย ( multi - impact aerobic dance)
การเต้นที่มีแรงกระแทกหลากหลายเป็นกานเคลื่อนไหวในลักษณะของแรงกระแทกต่ำและแรงกระแทกสูงผสมกัน การที่ผู้เต้นจะใช้แรงกระแทกต่ำหรือกระแทกสูงมากขึ้นอยู่กับสมรรถภาพองผู้เต้นและจังหวะเพลง
4. การเต้นที่ปราศจากแรงกระแทก ( no- impact aerobic dance)
การเต้นแอโรบิกที่ปราศจากแรงกระแทก เป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ไม่มีแรงกระแทกร่างกายกับพื้น เช่น การเต้นแอโรบิกในน้ำ เป็นต้น
ขั้นตอนในการฝึกแอโรบิกแดนซ์
1. ขั้นการวอร์มอัพ (warm up)
คือ ขั้นตอนการเตรียมพร้อมของกล้ามเนื้อ หัวใจและอวัยวะต่างๆของร่างกาย ซึ่งจำเป็นต้องใช้ปริมาณของร่างกายถึง 10 - 20 เปอร์เซ็นต์ โดยท่านี้นั้นจะเป็นการยืดข้อต่อและกล้ามเนื้อ (stretching Exercise) ทำเพื่อลดอาการบาดเจ็บของร่างกาย ช่วงนี้จะเป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะที่ช้าและอ่อนโยน เนื่องจากหากทำอย่างรวดเร็วแล้วนั้นอาจจะทำให้เกิดการได้รับบาดเจ็บ
2.ขั้นปฏิบัติหรือขั้นแอโรบิก (trainning heart rate)
ในระยะแอโรบิกช่วงแรกนั้นจะเป็นการบริหารด้วยท่าที่รวดเร็วและหนักติดต่อกัน โดยใช้เสียงเพลงซึ่งมีจังหวะอยู่ที่ประมาณ 140 - 160 จังหวะต่อนาที เป็นการเน้นพัฒนาบุคคลให้มีอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งในช่วงหลังนั้นจะเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
โดยยึดหลักอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งจะสามารถคำนวณได้ดังนี้
220 - อายุ = อัตราการเต้นของหัวใจของคนอายุดังกล่าว
ความบ่อย = ในหนึ่งสัปดาห์ควรจะมีการฝึกอาทิตย์ละ 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย เพื่อให้เกิดผลดีต่อระบบไหลเวียนเลือดและยังสามารถคงถึงความสามารถของร่างกายได้อีกด้วย
การกำหนดวัน = ผู้ฝึกควรมีการกำหนดวันการฝึกในแต่ละสัปดาห์ เช่น สัปดาห์นี้ต้องฝึกวันไหนบ้างและวันไหนเป็นวันพักสำหรับการฝึก ตัวอย่างเช่น ฝึกวันศุกร์กับวันอาทิตย์ เป็นต้น
สมรรถภาพของผู้ฝึก = ก่อนการฝึกควรมีการได้รับการตรวจร่างกายหรือทดสอบสมรรถภาพร่างกายก่อน เนื่องจากการฝึกนั้นอาจจะทำให้ร่างกายของผู้ฝึกเกิดการได้รับการบาดเจ็บได้ทุกเมื่อ
อายุ =การฝึกเพื่อให้เกิดความทนทานของร่างกายและจิตใจในผู้ใหญ่และเด็ก มีผลการฝึกที่แตกต่างกันไป
เพศ
3. ขั้นตอนการคูลดาวน์ ( cool down)
ในขั้นของการคูลดาวน์นั้นไม่ควรหยุดเลยในทันที เนื่องจากแอโรบิกนั้นเป็นการออกกำลังกายในสภาวะที่หนักหน่วง ซึ่งการหยุดนั้นเปรียบเสมือนการที่หัวใจเต้นในจังหวะที่รวดเร็วมากและทำให้หัวใจช้าลงไปในทันที อาจจะทำให้ช็อกเป็นลมได้ ซึ่งการทำคูลดาวน์นั้นก็เปรียบเสมือนการผ่อนอัตราหัวใจให้ลดจำนวนลงจนไปถึงสภาวะปกติของร่างกาย
การทำคูลดาวน์นั้นจะได้ความนิยมโดยมากด้วยการทำฟอร์เอ็กเซอร์ไซส์ ( floor exercise) โดยการเคลื่อนไหวไปอย่างช้าๆด้วยการเดินและจบลงด้วยการทำ stretching Exercise หรือการยืดกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเพื่อให้กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆนั้นคลายตัวลง
1. ขั้นการวอร์มอัพ (warm up)
คือ ขั้นตอนการเตรียมพร้อมของกล้ามเนื้อ หัวใจและอวัยวะต่างๆของร่างกาย ซึ่งจำเป็นต้องใช้ปริมาณของร่างกายถึง 10 - 20 เปอร์เซ็นต์ โดยท่านี้นั้นจะเป็นการยืดข้อต่อและกล้ามเนื้อ (stretching Exercise) ทำเพื่อลดอาการบาดเจ็บของร่างกาย ช่วงนี้จะเป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะที่ช้าและอ่อนโยน เนื่องจากหากทำอย่างรวดเร็วแล้วนั้นอาจจะทำให้เกิดการได้รับบาดเจ็บ
2.ขั้นปฏิบัติหรือขั้นแอโรบิก (trainning heart rate)
ในระยะแอโรบิกช่วงแรกนั้นจะเป็นการบริหารด้วยท่าที่รวดเร็วและหนักติดต่อกัน โดยใช้เสียงเพลงซึ่งมีจังหวะอยู่ที่ประมาณ 140 - 160 จังหวะต่อนาที เป็นการเน้นพัฒนาบุคคลให้มีอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งในช่วงหลังนั้นจะเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
โดยยึดหลักอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งจะสามารถคำนวณได้ดังนี้
220 - อายุ = อัตราการเต้นของหัวใจของคนอายุดังกล่าว
ความบ่อย = ในหนึ่งสัปดาห์ควรจะมีการฝึกอาทิตย์ละ 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย เพื่อให้เกิดผลดีต่อระบบไหลเวียนเลือดและยังสามารถคงถึงความสามารถของร่างกายได้อีกด้วย
การกำหนดวัน = ผู้ฝึกควรมีการกำหนดวันการฝึกในแต่ละสัปดาห์ เช่น สัปดาห์นี้ต้องฝึกวันไหนบ้างและวันไหนเป็นวันพักสำหรับการฝึก ตัวอย่างเช่น ฝึกวันศุกร์กับวันอาทิตย์ เป็นต้น
สมรรถภาพของผู้ฝึก = ก่อนการฝึกควรมีการได้รับการตรวจร่างกายหรือทดสอบสมรรถภาพร่างกายก่อน เนื่องจากการฝึกนั้นอาจจะทำให้ร่างกายของผู้ฝึกเกิดการได้รับการบาดเจ็บได้ทุกเมื่อ
อายุ =การฝึกเพื่อให้เกิดความทนทานของร่างกายและจิตใจในผู้ใหญ่และเด็ก มีผลการฝึกที่แตกต่างกันไป
เพศ
3. ขั้นตอนการคูลดาวน์ ( cool down)
ในขั้นของการคูลดาวน์นั้นไม่ควรหยุดเลยในทันที เนื่องจากแอโรบิกนั้นเป็นการออกกำลังกายในสภาวะที่หนักหน่วง ซึ่งการหยุดนั้นเปรียบเสมือนการที่หัวใจเต้นในจังหวะที่รวดเร็วมากและทำให้หัวใจช้าลงไปในทันที อาจจะทำให้ช็อกเป็นลมได้ ซึ่งการทำคูลดาวน์นั้นก็เปรียบเสมือนการผ่อนอัตราหัวใจให้ลดจำนวนลงจนไปถึงสภาวะปกติของร่างกาย
การทำคูลดาวน์นั้นจะได้ความนิยมโดยมากด้วยการทำฟอร์เอ็กเซอร์ไซส์ ( floor exercise) โดยการเคลื่อนไหวไปอย่างช้าๆด้วยการเดินและจบลงด้วยการทำ stretching Exercise หรือการยืดกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเพื่อให้กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆนั้นคลายตัวลง
แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน
กิจกรรม “ออกกำลังกายแบบแอโรบิก”
ณ โรงเรียนโคกสลุงวิทยา อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี
ชื่อครูผู้สอน ว่าที่ร้อยตรีหญิงจิราภรณ์ เกียนแก้ง
*********************************************************
คำชี้แจง
: แบบสอบถามนี้ใช้ในการประเมินความพึงพอใจในกิจกรรม ออกกำลังกายแบบแอโรบิก กรุณาทำความเข้าใจเอกสารและให้ข้อมูลตามสภาพจริง
ซึ่งแบบสอบถามฉบับนี้ไม่มีผลต่อตัว ผู้ตอบแบบสอบถามแต่อย่างใดทั้งสิ้น
ส่วนที่ 1: ข้อมูลส่วนตัว สถานะผู้ให้ข้อมูล ระดับชั้น ม.ต้น ระดับชั้น ม.ปลาย
เพศ ชาย หญิง
ส่วนที่
2: รายการประเมิน กรุณากาเครื่องหมาย ü หน้าช่องที่ท่านคิดว่าเหมาะสม ตามระดับความพึงพอใจดังนี้
ระดับความพึงพอใจ: 5 = มากที่สุด 4 = มาก 3 = ปานกลาง 2
= น้อย 1 = น้อยที่สุด
ข้อ
|
รายการประเมิน
|
ระดับความพึงพอใจ
|
||||
5
|
4
|
3
|
2
|
1
|
||
1
|
ครูมีการเตรียมเนื้อหาการสอน อธิบาย
และการสาธิตเกี่ยวกับท่าทางแอโรบิกได้ชัดเจน
|
|
|
|
|
|
2
|
นักเรียนมีความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมการออกกำลังกายแบบแอโรบิก
|
|
|
|
|
|
3
|
ครูเปิดโอกาสให้นักเรียน ซักถาม
พูดคุย เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
|
|
|
|
|
|
4
|
ท่าทาง
เพลงที่ใช้ประกอบการเต้นออกกำลังกายแบบแอโรบิก มีความทันสมัย สนุกสนาน
เหมาะสมกับวัย
|
|
|
|
|
|
5
|
ครูส่งเสริมการปฏิบัติของนักเรียน
ด้วยคำพูด วาจา ท่าทาง ที่เหมาะสม กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานในการออกกำลังกายแบบแอโรบิก
|
|
|
|
|
|
6
|
ภาพรวมของการจัดกิจกรรมออกกำลังกายแบบแอโรบิก
|
|
|
|
|
|
|
รวมคะแนน
|
|
|
|
|
|
ข้อเสนอแนะ (โปรดระบุในเชิงสร้างสรรค์)
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
กรุณานำส่งคืนที่ ครูจิราภรณ์
เกียนแก้ง (ครูเจน)