วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ระบบต่างๆของร่างกาย 10 ระบบ


1.ระบบผิวหนัง
               ผิวหนังของคนเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุด ที่ห่อหุ้มร่างกายเอาไว้ ผิวหนังของผู้ใหญ่คนหนึ่ง มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ตารางนิ้ว ผิวหนังตามส่วนต่างๆของร่างกาย จะหนาประมาณ 1-4 มิลลิเมตร แตกต่างกันไปตามอวัยวะ และบริเวณที่ถูกเสียดสี เช่น ผิวหนังที่ศอก และ เข่า จะหนากว่าผิวหนังที่แขนและขา
โครงสร้างของผิวหนัง
           ผิวหนังของคนเราแบ่งออกได้เป็น 2 ชั้น คือ หนังกำพร้าและหนังแท้
     1. หนังกำพร้า (Epidermis) เป็นผิวหนังที่อยู่ ชั้นบนสุด มีลักษณะบางมาก ประกอบไปด้วยเชลล์ เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ โดยเริ่มต้นจากเซลล์ชั้นในสุด ติดกับหนังแท้ ซึ่งจะแบ่งตัวเติบโตขึ้นแล้วค่อยๆ เลื่อน มาทดแทนเซลล์ที่อยู่ชั้นบนจนถึงชั้นบนสุด แล้วก็ กลายเป็นขี้ไคลหลุดออกไปนอกจากนี้ในชั้นหนังกำพร้ายังมีเซลล์ เรียกว่า เมลานิน ปะปนอยู่ด้วย เมลานินมีมากหรือน้อยขึ้น อยู่กับบุคคลและเชื้อชาติ จึงทำให้สีผิวของคนแตกต่าง กันไป ในชั้นของหนังกำพร้าไม่มีหลอดเลือด เส้น ประสาท และต่อมต่างๆ นอกจากเป็นทางผ่านของรูเหงื่อ เส้นขน และไขมันเท่านั้น
     2.หนังแท้ (Dermis) เป็นผิวหนังที่อยู่ชั้นล่าง ถัดจากหนังกำพร้า และหนากว่าหนังกำพร้ามาก ผิว หนังชั้นนี้ประกอบไปด้วยเนี้อเยื่อคอลลาเจน (Collagen) และอีลาสติน (Elastin) หลอดเลือดฝอย เส้นประสาท กล้ามเนื้อเกาะเส้นขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และขุม ขนกระจายอยู่ทั่วไป
หน้าที่ของผิวหนัง
     1. ป้องกันและปกปิดอวัยวะภายในไม่ให้ได้รับ อันตราย
     2. ป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกายโดยง่าย
     3. ขับของเสียออกจากร่างกาย โดยต่อมเหงื่อ ขับเหงื่อออกมา
     4. ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดย ระบบหลอดเลือดฝอยและการระเหยของเหงื่อ
     5. รับความรู้สึกสัมผัส เช่น ร้อนหนาว เจ็บ ฯลฯ
     6. ช่วยสร้างวิตามินดีให้แก่ร่างกาย โดยแสง แดดจะเปลี่ยนไขมันชนิดหนึ่งที่ผิวหนังให้เป็นวิตามินดีได้
     7. ขับไขมันออกมาหล่อเลี้ยงเส้นผม และขน ให้เป็นเงางามอยู่เสมอและไม่แห้ง

 2. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System)
กล้ามเนื้อของมนุษย์ทั้งเพศชายและเพศหญิง แบ่งได้ 3 ชนิด คือ
1. กล้ามเนื้อลาย(Striated Muscles) มักอยู่ติดกับกระดูก มีลักษณะลายๆ ทำงานภายใต้การควบคุม ของระบบประสาท เช่นกล้ามเนื้อแขน ขา ฯลฯ กล้ามเนื้อลาย เป็นกล้ามเนื้อที่ยึดติดอยู่กับกระดูก จึงเรียกว่า กล้ามเนื้อ กระดูก (Skeletal muscles)
 2. กล้ามเนื้อเรียบ(Smooth Muscles)เป็นกล้ามเนื้อที่บุอยู่ที่อวัยวะต่างๆภายในของร่างกายมีหน้าที่ ควบคุมการทำงานของอวัยวะย่อยอาหาร และอวัยวะภายใน ต่างๆ เช่น ลำไส้ กระเพาะอาหาร อวัยวะสืบพันธุ์ มดลูก เส้นเลือดดำ ฯลฯ ซึ่งอยู่นอกอำนาจของจิตใจ แต่อยู่ภายใต้ การควบคุมของระบบประสาทอิสระ (Autonomie Nervous System)
3. กล้ามเนื้อหัวใจ(Cardiac Muscles)เป็นกล้ามเนื้อที่มีลายน้อยกว่ากล้ามเนื้อลาย และลายแตกเป็นกิ่งคล้ายตาข่ายบุอยู่ที่ผนังของหัวใจ ทำหน้าที่หดและขยายตัว ในเวลาสูบฉีดโลหิต ทำงานโดยอัตโนมัติอยู่นอกเหนืออำนาจของจิตใจ


3. ระบบกระดูก
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตทีมีวิวัฒนาการที่ซับซ้อน มีอวัยวะต่างๆทำงานสอดคล้องกันเป็นระบบ กระดูกคนเรามีทั้งหมด 206 ชิ้น แบ่งประเภทได้ดังนี้
ก. แบ่งตามตำแหน่งที่อยู่
1 . กระดูกแกนกลางมี 80 ชิ้น ได้แก่ กะโหลกศรีษะ กระดูกสันหลัง กระดูกอก
กระดูกซี่โครง กระดูกก้นกบ
2. กระดูกระยางค์
2.1กระดูกระยางค์แขน เช่น กระดูกสะบัก กระดูกไหปลาร้า
กระดูกแขน(นอก-ใน) กระดูกฝ่ามือ กระดูกนิ้วมือ
2.2 กระดูกระยางค์ขา เช่น กระดูกต้นขา กระดูกข้อเท้า กระดูกฝ่าเท้า
กระดูกนิ้วเท้า
2.3 กระดูกอ่อน เช่น หลอดลม ปลายจมูก และใบหู


ข. แบ่งตามลักษณะกระดูก
1. กระดูกยาว ได้แก่ กระดูกแขน กระดูกขา
2. กระดูกสั้น ได้แก่ กระดูกข้อมือ กระดูกข้อเท้า
3. กระดูกแบน ได้แก่ กระดูกซี่โครง กระดูกอก กระดูกสะบัก
4.กระดูกยาว รูปร่างไม่แน่นอน ได้แก่ กะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน
5.กระดูกลม
6.กระดูก โพรง กะโหลกศีรษะ

หน้าที่ของกระดูก
1. เป็นโครงสร้างของร่างกาย ทำให้ร่างการคงรูปอยู่ได้
และช่วยรับน้ำหนักของร่างกาย
2. เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อเอ็นและพังผืด
3. ป้องกันอวัยวะที่สำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ปอด
4. สร้างเม็ดเลือด( กระดูกสันหลัง )
5. ช่วยในการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่


4. ระบบประสาท
                เป็นระบบที่มีความสำคัญต่อร่างกาย ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในการตอบสนองต่อสิ่งเร้า จะเกี่ยวข้องกับการรับความรู้สึกจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย และส่งคำสั่งให้กล้ามเนื้อทำงานการทำงานของระบบประสาท ประกอบด้วย
1.สมอง (Brain)
2.ไขสันหลัง (Spinal cord)
3.เส้นประสาท (Nerve)
4.อวัยวะรับความรู้สึกเฉพาะ (Sense organs)

หน้าที่ของระบบประสาท
1.ควบคุมหน้าที่ของส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ปฏิบัติและประสานงานกัน
2.ควบคุมความคิดและพฤติกรรมของร่างกาย
3.ควบคุมหน้าที่และของอวัยวะภายในให้ดำเนินไปตามปกติ
4.มีหน้าที่รับความรู้สึกจากภายนอก และสามารถปรับร่างกายให้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าเหล่านั้นได้
5.มีหน้าที่เกี่ยวกับรับความรู้สึกเฉพาะ เช่น การเห็น การพูด การได้ยิน
                เซลล์ประสาท ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1.ตัวเซลล์ประสาท (Cell body)
2.เส้นใยประสาท (Nerve fiber) แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
                2.1พวกที่นำความรู้สึกเข้า (Dendrite or Afferent process) เป็นส่วนของเซลล์ที่ยาวยื่นออกมาเพื่อรับกระแสประสาทจากภายนอกเข้าสู่ตัวเซลล์ จะมีจำนวน 1 อัน หรือหลายอันต่อเซลล์ประสาท 1 ตัว
                2.2พวกที่นำความรู้สึกออก (Axon or Efferent process) เป็นส่วนที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ เซลล์ประสาท 1 ตัวจะมี Axon เพียง 1 อันเท่านั้น ทำหน้าที่นำกระแสประสาทส่งไปยังอวัยวะแสดงผล Axon จะมีลักษณะพิเศษเพื่อความรวดเร็วในการนำกระแสประสาท คือ
                (1)ถูกหุ้มด้วย Myelin sheath ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจาก Schwann s cell มีประโยชน์ช่วยป้องกัน Axon ไม่ให้เป็นอันตราย และเป็นฉนวนกันไม่ให้ประจุไฟฟ้าภายในและภายนอกถ่ายเทเข้าหากัน
                (2)Myelin sheath จะหุ้ม Axon เป็นข้อๆ ซึ่งจะทำให้การส่งกระแสประสาทได้รวดเร็ว
                (3)มี Neurilcmma เป็นเยื่อบางๆ หุ้มอยู่รอบMyelin sheath
                ชนิดของเซลล์ประสาท
แบ่งตามลักษณะที่ประกอบขึ้น เป็น 3 ชนิด คือ
1.Unipolar neuron เป็นเซลล์ประสาทขั้วเดียว มี process อันเดียว มักพบที่ dorsal root ganglion ของไขสันหลัง
2.Bipolar neuron เซลล์ประสาท 2 ขั้ว มี process 2 อัน แยกกันอยู่คนละขั้ว พบได้ที่ retina ของตา และ cochlea
3.Multipolar neuron เซลล์ประสาทหลายขั้ว มี dendrite มากกว่า 2 อันขึ้นไป แต่มี axon เพียงอันเดียว พบที่ Motor nerve cell ในสมอง และที่Anterior gary horn ของไขสันหลัง
แบ่งตามหน้าที่ จะแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
1.Sensory neuron ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากสิ่งแวดล้อมภายนอกหรือภายในก็ได้ แล้วนำความรู้สึกส่งเข้าสู่สมองหรือไขสันหลัง
2.Motor neuron ทำหน้าที่ส่งคำสั่งออกไปควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลาย รวมทั้งต่อมไร้ท่อและต่อมมีท่อ
3.Association neuron or Connecting neuron เป็น neuron ที่อยู่ระหว่างMotor และ Sensory neuron ทำหน้าที่เชื่อมโยงให้ neuron ติดต่อกันเป็นวงจร
เส้นประสาท (Nerve)
                หมายถึง ใยประสาท (Nerve fiber) หลายๆ อันมารวมกันเป็นมัด โดยมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหุ้มไว้ เส้นประสาทแบ่งตามหน้าที่ได้ 3 ชนิด
1.เส้นประสาทรับความรู้สึก (Sensory nerve or Afferent nerve) คือ เส้นประสาทที่มีแต่ dendrite นำกระแสประสาทเข้าสู่เซลล์เท่านั้น เช่น การรับความรู้สึก
2.เส้นประสามสะท้อนความรู้สึกหรือประสาทกลไก (Motor nerve or Efferent nerve) คือ เส้นประสามที่มีแต่ axon นำกระแสประสาทจากศูนย์กลางออกมาข้างนอก เช่น การเคลื่อนไหว
3.เส้นประสาทรวม (Mixed nerve) คือ เส้นประสาทที่มีคุณสมบัติทั้งรับความรู้สึกและทำให้เกิดการเคลื่อนไหว
                ระบบประสาท
แบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ
1.ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System or CNS)ประกอบด้วย
สมอง (Brain) บรรจุอยู่ในกะโหลกศีรษะ มีปริมาตรประมาณ 1,200-1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
                1.สมองส่วนหน้า (Fore brain or prosencephalon) เป็นสมองส่วนที่อยู่หน้าสุด ประกอบด้วย Cerebrum และ Diencephalon
                Cerebrum เป็นสมองที่มีการเจริญและเปลี่ยนแปลงมาก มีหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ความคิด การเห็น การได้ยิน การพูด การเคลื่อนไหว รวมทั้งความฉลาดด้วย
                Diencephalon เป็นส่วนที่ต่ำลงมาจาก Corpus callosum บางทีก็เรียกว่า Thalamus เป็นศูนย์กลางเกี่ยวกับการถ่ายทอดความรู้สึกจากทุกส่วนของร่างกาย เพื่อส่งไปยัง Cerebrum
                2.สมองส่วนกลาง (Mid brain or Mesencephalon) เป็นทางผ่านของใยประสาทที่จะไปสู่สมองส่วนหน้า อยู่ระหว่าง Pons กับ Diencephalon ต่ำจาก Thalamus ลงไปทางหลังจะพบปุ่มนูนสองปุ่ม ทำหน้าที่ reflex เกี่ยวกับการเห็น และการได้ยิน
                3.สมองส่วนหลัง (Hind brain or Rhombencephalon) ประกอบด้วย
                Cerebellum มีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานประสานกันได้ดี และช่วยในการทรงตัว
                Pons varoli เป็นส่วนเชื่อมโยงสมองส่วนกลางกับ Medulla oblongata มีหน้าที่ เป็นสะพานติดต่อระหว่าง cerebrum 2 ซีก และเป็นตำแหน่งที่เส้นประสาทออกจากสมองทอดผ่าน
                Medulla oblongata มีหน้าที่สำคัญ คือ
                -มีศูนย์ควบคุมเกี่ยวกับอวัยวะที่สำคัญ
                ก.ควบคุมเกี่ยวกับการหายใจ (Respiratory center)
                ข.ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ (Cardiac center)
                ค.ควบคุมความดันเลือด (Vasomotor center)
                -ควบคุม reflex activity เช่น
                ก.ควบคุมการหลั่งของน้ำลายจากต่อม Parotid
                ข.ควบคุมเกี่ยวกับการกลืน (Swalloing center)
                ค.การเคี้ยว (Masticating reflex)
                ง.การอาเจียน (Vomiting reflex)
                -เป็นทางผ่านขึ้นและลงของ Fiber และส่วนมากจะมาตัดกันที่ Medulla oblongata


                                     5. ระบบหายใจ
     มนุษย์ทุกคนต้องหายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ การหายใจเข้า อากาศผ่านไปตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้
     1.จมูก (Nose)
     จมูกส่วนนอกเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย
     2. หลอดคอ (Pharynx)
     เมื่ออากาศผ่านรูจมูกแล้วก็ผ่านเข้าสู่หลอดคอ ซึ่งเป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณยาวประมาณ 5 " หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนนี้ออกจากกัน โครงของหลอดคอประกอบด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นที่ใหญ่ทีสุด คือกระดูกธัยรอยด์ ที่เราเรียกว่า "ลูกกระเดือก" ในผู้ชายเห็นได้ชัดกว่าผู้หญิง
     3. หลอดเสียง (Larynx)
     เป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 cm ในผู้ชาย และ 3.5 cm ในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติยโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากฮอร์โมนของเพศชาย
     4. หลอดลม (Trachea)
     เป็นส่วนที่ต่ออกมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก ลักษณะรูปร่างของหลอดลมเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U ซึ่งมีอยู่ 20 ชิ้น วางอยู่ทางด้านหลังของหลอดลม ช่องว่าง ระหว่างกระดูกอ่อนรูปตัว U ที่วางเรียงต่อกันมีเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเรียบมายึดติดกัน การที่หลอดลมมีกระดูกอ่อนจึงทำให้เปิดอยู่ตลอดเวลา ไม่มีโอกาสที่จะแฟบเข้าหากันได้โดยแรงดันจากภายนอก จึงรับประกันได้ว่าอากาศเข้าได้ตลอดเวลา หลอดลม ส่วนที่ตรงกับกระดูกสันหลังช่วงอกแตกแขนงออกเป็นหลอดลมแขนงใหญ่ (Bronchi) ข้างซ้ายและขวา เมื่อเข้าสู่ปอดก็แตกแขนงเป็นหลอดลมเล็กในปอดหรือที่เรียกว่า หลอดลมฝอย (Bronchiole) และไปสุดที่ถุงลม (Aveolus) ซึ่งเป็นการที่อากาศอยู่ ใกล้กับเลือดในปอดมากที่สุด จึงเป็นบริเวณแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน กับคาร์บอนไดออกไซด์
     5. ปอด (Lung)
     ปอดมีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบขึ้นด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลัง ฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลม
     ระหว่างปอด 2 ข้าง จะพบว่ามีหัวใจอยู่ ปอดข้างขวาจะโตกว่าปอดข้างซ้ายเล็กน้อย และมีอยู่ 3 ก้อน ส่วนข้างซ้ายมี 2 ก้อน
     หน้าที่ของปอดคือ การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ
     6. เยื่อหุ้มปอด (Pleura)
     เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็นมันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เยื่อหุ้มปอดซึ่งมี 2 ชั้น ระหว่าง 2 ชั้นนี้มี ของเหลวอยู่นิดหน่อย เพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่าง เรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด



                                            6. ระบบไหลเวียนโลหิต
เลือดเป็นส่วนของร่างกายในระบบไหลเวียนเลือด มีหน้าที่ลำเลียง
อาหารน้ำ ออกซิเจน และสารอื่นๆ ไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนั้นยังลำเลียงของเสีย เช่น คาร์บอนไดออกไซด์มายังปอด เพื่อขับออกจากร่างกายอีกด้วย ส่วนประกอบของเลือดได้แก่เซลล์
สามชนิด คือ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด เซลล์สามชนิด นี้ลอยอยู่ในส่วนน้ำของเลือดมีชื่อว่าพลาสมาเม็ดเลือดแดง มีสีแดงเป็นตัวพาออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย แล้วรับของเสีย คือ คาร์บอนไดออกไซด์กลับมาที่ปอด เม็ดเลือดขาว ไม่มีสี มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวมีหน้าที่ต่อต้าน และทำลายเชื้อโรค
      ซึ่งเข้ามาอยู่ภายในร่างกาย ส่วนเกล็ดเลือดมีหน้าที่ทำให้เลือดเป็น ก้อนแข็ง ซึ่งจะทำให้เลือดหยุดไหลเมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้น
   เม็ดเลือดแดง
      ร่างกายของเรามีเม็ดเลือดแดงอยู่เป็นจำนวนมาก กล่าวคือ  ในร่างกายของคนที่เป็นผู้ใหญ่จะมีเม็ดเลือด แดงอยู่ถึง 25  ล้านล้านเซลล์ เม็ดเลือดแดงมีอายุอยู่ในกระแสโลหิต ได้นานประมาณ ๑๒๐ วัน หลังจากนั้น ก็จะถูกทำลายไปในตับและม้าม เมื่อเม็ดเลือดแดงเก่าถูกทำลายไป ไขกระดูกก็จะสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่ขึ้นมาแทนที่เม็ดเลือดแดงมีสีแดง เพราะมีส่วนประกอบสำคัญคือ เฮโมโกลบินสารนี้เป็นสาร    หน้าที่สำคัญของเม็ดเลือดแดง  ได้แก่การนำออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ แล้วนำเอา 
คาร์บอนไดออกไซด์กลับไปยังปอด
เม็ดเลือดขาว
    เม็ดเลือดขาวมีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง แต่มีจำนวนน้อยกว่าถึง ประมาณ 500 เท่า เม็ดเลือดขาวมี หลายชนิด คือ ลิมโฟไซท์ โมโนไซท์ อิโอซิโนฟิล เบโซฟิล และนิวโตรฟิลลิมโฟไซท์ และ โมโนไซท์ เมื่อส่องดูด้วยกล้อง จุลทรรศน์ จะเห็นว่ามีนิวเคลียสเดียว 
เกล็ดเลือด
   
เกล็ดเลือดมีหน้าที่สำคัญในการห้ามเลือดโดยจะรวมตัวเป็น ก้อนแข็งอุดตรงบริเวณที่หลอดเลือดถูกตัดหรือฉีกขาดทำให้เลือดหยุดไหล

                                                         7. ระบบย่อยอาหาร
การย่อยอาหาร (Digestion)หมายถึงกระบวนการสลายอนุภาคอาหารให้มีขนาดเล็กสุดจนสามารถดูดซึมเข้าไปในเซลล์ได้
ขั้นตอนการย่อยอาหาร
     การย่อยอาหารมี 2 ขั้นตอน
          1.การย่อยทางไกล(Mechamical digestion)
                เป็นกระบวนการทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนที่และการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่อไป โดยการบดเคี้ยว รวมทั้งการบีบตัวของทางเดินอาหาร ยังไม่สามารถทำให้ อาหารมีขนาด เล็กสุด จึงไม่สามารถดูดซึมเข้าเซลล์ได้

         2.การย่อยทางเคมี(Chemical digestion)
                เป็นการย่อยอาหารให้มีขนาดเล็กที่สุด โดยการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่าง อาหาร กับน้ำโดยตรง และจะใช้เอนไซม์หรือน้ำย่อยเข้าเร่งปฏิกิริยาผลจากการย่อยทางเคมีเมือถึงจุดสุดท้าย จะได้สารโมเลกุลเล็กที่สุดที่สามารถดูดซึมเข้าสู่เซลล์ได้ ซึ่งอาหารที่ดีรับการย่อย ได้แก่คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ส่วนเกลือแร่และวิตามินจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง

ส่วนต่างๆของระบบทางเดินอาหาร
     1.  ช่องปาก
     ภายในประกอบด้วย ฟัน ที่มีหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร ลิ้น มีหน้าที่ในการคลุกเคล้า
     อาหารและต่อมน้ำลายที่สำคัญ 3 คู่ คือ
     - ต่อมน้ำลายใต้หู (Parotid)
     - ต่อมน้ำลายใต้โคนลิ้น (Sub lingual)
     - ต่อมน้ำลายใต้ฟันกรามล่าง (Sub maxillary)
    โดยต่อมน้ำลายมีหน้าที่ในการสร้างน้ำลายออกมา โดยในน้ำลายนั้นประกอบไปด้วย น้ำ กับ น้ำย่อยอะไมเลส (amylase) ซึ่งมีผลต่อการย่อยอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต ให้ได้ dextrin หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ที่ไม่สามารถดูดซึมได้

     2.  หลอดอาหาร 
          ประกอบขึ้นด้วยกล้ามเนื้อเรียบที่สามารถบีบตัวเป็นจังหวะในขณะที่อาหารผ่านลงมาในทางเดินอาหารส่วนนี้ไม่มีการสร้างน้ำย่อยออกมา แต่มีการหลั่งสารเมือกช่วยหล่อลื่น
     3.  กระเพาะอาหาร
          ประกอบขึ้นด้วยกล้ามเนื้อเรียบที่อัดกันหนามาก ด้านในมีลักษณะเป็นสันช่วยในการบดอาหารให้มีขนาดเล็กลงอีก ผนังด้านในสามารถสร้างเอนไซม์เปปซิโนเจน และ กรดไฮโดรคลอริกหรือกรดเกลือ(HCl) เปปซิโนเจนจะถูกกรดเกลือเปลี่ยนสภาพให้กลายไปเป็นเอนไซม์เปปซิน(Pepsin) ซึ่งมีความสามารถในการย่อยโปรตีนให้มีโมเลกุลเล็กลง เรียกว่าเปปไทด์(Peptide) แต่ยังไม่สามารถดูดซึมได้

     4.  ลำไส้เล็ก
          เป็นทางเดินอาหารส่วนที่ยาวมาก แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ดูโอดีนัม เจจูนัมและไอเลียมที่ผนังลำไส้เล็กสามารถสร้างน้ำย่อยขึ้นมาได้ ซึ่งมีหลายชนิด นอกจากน้ำที่ลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม ยังได้รับน้ำย่อยจากตับอ่อน และน้ำดีมาจากตับ น้ำย่อยจากตับอ่อนมีหลายชนิดที่สามารถย่อย คาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมันได้

     5.  ลำไส้ใหญ่
          เป็นทางเดินอาหารส่วนสุดท้าย ซึ่งไม่มีการย่อยเกิดขึ้น จึงทำหน้าที่ในด้านการดูดซึมน้ำเกลือแร่และวิตามินบางชนิด
การดูดซึมอาหาร
          การดูดซึมอาหาร คือ การนำอาหารโมเลกุลเล็กๆที่ผ่านการย่อยแล้ว ผ่านผนังทางเดิน อาหารเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อนำไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย
         - กระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่เป็นการดูดซึมสารจำพวกยาและแอลกอฮอล์เป็นส่วนใหญ่
         - ลำไส้เล็ก มีการดูดซึมอาหารทุกประเภทมากที่สุด โดยผนังของลำไส้เล็กจะมีส่วนยื่น ออกมาเรียกว่า วิลลัส(Villus) เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึม โดยภายในวิลลัสประกอบด้วยเส้นเลือดมากมายเป็นตาข่ายเพื่อรับอาหารที่ย่อยแล้ว และส่วนแกนกลางเป็นเส้นน้ำเหลือง ซึ่งจะ ดูดซึมอาหารพวกกรดไขมันและกลีเซอรอล นอกจากจะย่อยสารอาหารทั้ง 3 ชนิดแล้ว  ยังดูดซึมอาหารที่ย่อยได้โมเลกุลพื้นฐานของสารอาหารชนิดนั้นๆ การย่อยอาหารในลำไส้เล็กจะเกิดได้ดีในสภาวะที่เป็นเบส (NaHCO3) จากตับอ่อน

เอนไซม์กับการย่อยอาหาร
          เอนไซม์มีโครงสร้างที่ประกอบขึ้นด้วยกรดอะมิโน แต่มีคุณสมบัติต่างจากโปรตีนตรงที่เอนไซม์สามารถเร่งปฏิกิริยาทางเคมีในเซลล์ได้ โดยที่สารที่จะเป็นเอนไซม์ได้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
          1.สามารถเร่งปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ได้
          2.เมื่อเกิดปฏิกิริยาแล้วเอนไซม์จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและจำนวน ในขณะที่สารเริ่มต้นถูกเปลี่ยนไปเป็นสารผลิตภัณฑ์
          3.อุณหภูมิมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ ซึ่งจะทำงานได้ดีในช่วง 25 -40 0c
          4.สภาพความเป็นกรด-ด่างมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ โดยขึ้นอยู่กับชนิดของเอนไซม์นั้นๆ


8. ระบบขับถ่าย
     การขับถ่าย คือ การกำจัดของเสียอันเกิดจากขบวนการเมตาโบลิซึม ร่างกายขับน้ำออกมาในรูปปัสสาวะ และเหงื่อ ซึ่งใน ปัสสาวะจะมีสาร เช่น ยูเรีย กรดยูริก แอมโมเนีย โซเดียมคลอไรด์ กรดฟอสฟอริก โซเดียม กำมะถัน และโพแทสเซียมละลายปนอยู่ สารที่ขับออกมามากสุด คือ ยูเรีย มีปริมาณ 35 กรัมต่อวันการขับถ่ายของเสียทางไต ไตของคนมี 1 คู่ มีรูปร่างคล้ายเม็ดถั่ว มีท่อไต(Ureter) ทำหน้าที่ ลำเลียงปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ(Urinary bladder) ที่เก็บปัสสาวะ
  ไตประกอบด้วยเนื้อเยื่อ
    เนื้อเยื่อชั้นนอก คือ ชั้นคอร์เทกซ์ (Cortex) และถัดเข้าไปคือชั้นเมดุลลา (Medulla) ส่วนของเมดุลที่ยื่นจดกับโพรงที่ติดต่อกับ หลอดไต คือ พาพิลลา (Papilla) ลักษณะที่เป็นโพรง เรียกว่ากรวยไต (Pelvis) เนื้อไตประกอบไปด้วยหน่วยไต (Nephron) หน่วยไตแต่ละหน่วยเป็นท่อ มีปลายข้างหนึ่งเป็นกระเปาะที่ประกอบด้วยเยื่อบาง ๆ สองชั้น คือ โบวแมนส์แคปซูล  (Bowman's Capsule) ภายในโบวแมนส์แคปซูล จะมีกลุ่มเส้นเลือดฝอย เรียกว่าโกลเมอรูลัส (Glomerulus) โบวแมนส์ แคปซูล อยู่ในชั้นคอร์เทกซ์ ท่อส่วนใหญ่จะอยู่ในชั้นของเมดุลลาท่อที่ติดต่อกับโบวแมนส์ แคปซูล ทำหน้าที่ดูดน้ำและสารที่ร่างกายกลับคืนการกรองจะเกิดขึ้นที่โกลเมอรูลัส โดยผนังเส้นเลือดฝอยทำหน้าที่เป็นเยื่อกรองการลำเลียงน้ำหรือสารอาหารต่าง ๆ เข้าออกจากเซลล์
            
การขับถ่ายทางผิวหนัง
     การขับเหงื่อจากต่อเหงื่อถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติในเวลาที่ตกใจหรืออารมณ์เครียดระบบประสาทนี้จะกระตุ้นการขับเหงื่อออกมามากกว่าปกตินอกจากนี้ ผิวหนังทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรค เป็นอวัยวะรับสัมผัสและช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกาย


9.ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์เพศชาย
     ระบบสืบพันธุ์เพศชายประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ดังนี้
     1. อัณฑะ (Testis) และถุงอัณฑะ (Scrotum)
           อัณฑะ มีลักษณะรูปร่างคล้ายไข่ฟองเล็ก ยาว 3-4 Cm หนาประมาณ 2-3 Cm 
     หนักประมาณ 50 กรัม อัณฑะมี 2 ข้างและขนาดใกล้เคียงกันอยู่ภายในถุงอัณฑะ ซึ่งทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิภายในถุงอัณฑะให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของอสุจิ คือ ประมาณ 34 องศาเซลเซียส ภายในอัณฑะประกอบด้วยหลอดสร้างตัวอสุจิ มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆขดเรียงกัน อยู่มากมาย เพื่อทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (Sperm) นอกจากนั้นยังมีเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งควบคุมลักษณะต่างๆของเพศชาย เช่นเสียงห้าว มีหนวดเครา
  2. หลอดเก็บตัวอสุจิ
          เป็นที่พักของตัวอสุจิที่สร้างจากหลอดสร้างตัวอสุจิจะอยู่บริเวณด้านบนของอัณฑะต่อเชื่อม กับหลอดนำตัวอสุจิ
   3. หลอดนำตัวอสุจิ
 
           อยู่ต่อจากหลอดเก็บอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
   4. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ(seminal vesicle)
           อยู่ต่อจากหลอดนำตัวอสุจิ ทำหน้าที่สร้างอาหารให้แก่ตัวอสุจิ ส่วนมากเป็นน้ำตาลฟรักโตส และสารประกอบอื่นๆที่ทำให้เกิดสภาพที่เหมาะกับตัวอสุจิ
  5. ต่อมลูกหมาก(prostate gland)
            อยู่บริเวณตอนต้นของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารบางชนิดที่เป็นเบสอย่างอ่อน เข้าไปในท่อปัสสาวะปนกับน้ำเลี้ยงอสุจิและสารที่ทำให้ตัวอสุจิแข็งแรงและว่องไว
 6. ต่อมคาวเปอร์(
cowper gland)
     มีหน้าที่หลั่งสารของเหลวใสๆไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะเกิดการกระตุ้นทางเพศ
 7. อวัยวะเพศชาย(
pennis) 
    เป็นกล้ามเนื้อที่หดและพองตัวได้คล้ายฟองน้ำในวลาปกติจะอ่อนและงอตัวอยู่ แต่เมื่อ
ถูกกระตุ้นจะเเข็งตัวเพราะมีเลือดมาคั่งมากภายในจะมีท่อปัสสาวะทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิและน้ำปัสสาวะ
ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
     ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง  ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ดังนี้
      1.  รังไข่  
             ทำหน้าที่ผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งจะกำหนดลักษณะต่างๆในเพศหญิง เช่น  ตะโพกผาย เสียงแหลม สำหรับรังไข่จะมี 2 อัน ซึ่งจะอยู่คนละข้างของมดลูกจะมี
 ลักษณะคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ยาวประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร
      2.  ท่อนำไข่ 
             เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปีกมดลูก เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูกและเป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้า
ปฏิสนธิกับไข่ ท่อนำไข่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ
 6 - 7
 เซนติเมตร
     3.  มดลูก 
       มีรูปร่างคล้ายผลชมพู่หัวกลับลง กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6 - 8 เซนติเมตร หนาประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่ในบริเวณอุ้งกระดูกเชิงกรานระหว่าง  กระเพาะปัสสาวะกับทวารหนัก ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วและเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์
     4. ช่องคลอด
            อยู่ต่อจากมดลูกลงมา ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูกและเป็น ทางออกของทารกเมื่อครบกำหนดคลอด

10. ระบบต่อมไร้ท่อ
1. ต่อมพิทูอิทารี
อยู่บริเวณใต้สมองหรือฐานของกะโหลกศีรษะด้านซ้ายบริเวณขมับมีลักษณะกลมขนาดเท่าถั่วลันเตาขนาด 5 – 10 มม. หนักประมาณ 0.5 กรัม ต่อมนี้แบ่งออกเป็น 2 lobe คือ
         1.1 ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior lobe) ผลิตฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต ถ้าต่อมนี้ผลิตฮอร์โมนมากไปร่างกายของบุคคลนั้นจะสูงใหญ่ผิดปกติ (Giantism) ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนกว่าคนปกติและความรู้สึกก็น้อยกว่าคนปกติ แต่ถ้าผลิตน้อยทำให้บุคคลผู้นั้นเตี้ยแคระไม่สมประกอบ (Dwarfism) lobe นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Master gland เพราะนอกจากจะผลิตฮอร์โมนแล้วยังควบคุมต่อมอื่น ๆ ได้อีก เช่น ต่อม Thyroid Gonads Parathyroid Pancreas (ที่ตับ) เป็นต้น
         1.2 ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior lobe) ผลิตฮอร์โมนที่มีอิทธิพลต่อความดันโลหิตและผลิต Oxytocin ในสตรี เพื่อช่วยให้มดลูกบีบตัวในการคลอดบุตรและกระตุ้นการผลิตน้ำนม นอกจากนี้ยังบีบบังคับการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบการเผาผลาญไขมันและควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะให้มีจำนวนพอเหมาะ

2. ต่อมไทมัส
ตั้งอยู่ที่ขั้วหัวใจระหว่างปอดทั้งสองข้าง เมื่ออายุน้อยจะมีขนาดใหญ่ จะเจริญเต็มที่เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นและเมื่ออายุมากขึ้นจะหดเล็กลงกลายเป็นก้อนไขมันจึงเรียกว่าเป็นต่อมชั่วคราว ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนซึ่งควบคุมมิให้ร่างกายเจริญเติบโตเกินไป ควบคุมระบบน้ำเหลือง สร้างภูมิคุ้มกันโรค ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เข้าไปในร่างกาย
3. ต่อมไทรอยด์
เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีน้ำหนักประมาณ 15-20 กรัม อยู่ที่ลำคอด้านหน้าข้างหลอดลม ต่ำกว่าลูกกระเดือกเล็กน้อย ข้างละ 1 ต่อม มีสีแดงเข้มเป็นพู มีรูปร่างเหมือนเกือกม้าต่อมธัยรอยด์มีขนาดโตกว่า นิ้วหัวแม่มือของเจ้าของต่อมเล็กน้อย ต่อมนี้ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนธัยรอกซิน (Thyroxin) ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดขบวนการเมแทบอริซึ่ม (Matabolism) คือเปลี่ยนอาหารในร่างกายให้เป็นพลังงาน เพื่อช่วยไม่ให้เด็กเป็นเด็กปัญญาอ่อนและเตี้ยแคระ (Cretinism) และถ้าผู้ใหญ่ขาดจะเป็นคอพอก อ่อนเพลีย ซึมเซา ไม่กระฉับกระเฉง อัตราการเผาผลาญอาหารต่ำทำให้อ้วนและเฉื่อยชา แต่ถ้ามีมากจะกลายเป็นคนผอมตื่นเต้นตกใจง่าย และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
4. ต่อมพาราไทรอยด์
เป็นต่อมแบน ๆ รูปไข่ อยู่หลังต่อมธัยรอยด์มี 4 ต่อมติดกับต่อมธัยรอยด์ข้างละ 2 เม็ด ผลิตฮอร์โมนชื่อ พาราธฮอร์โมน (Parathormone) ทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ควบคุมการเผาผลาญแคลเซียม ฟอสฟอรัส ควบคุมการเจริญเติบโตของกระดูกการทำงานของน้ำย่อย (Enzyme) รักษาความสมดุลของกรดในร่างกาย ช่วยให้โลหิตแข็งตัวเมื่อเวลาเกิดบาดแผลขึ้น ถ้าต่อมทำงานน้อยไป ระดับแคลเซียมจะน้อยลงทำให้กระดูกอ่อน เวลามีบาดแผลเลือดจะไหลไม่หยุด ถ้าระดับแคลเซียมในเลือดสูงไป จะทำให้เกิดความผิดปกติทางกระดูก เช่น ปวดกระดูก เป็นต้น


5. ต่อมหมวกไต
ต่อมนี้อยู่เหนือไต โดยครอบอยู่ที่ขั้วของไตข้างละต่อม ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 5.1 ส่วนชั้นนอกของต่อมหมวกไต (Cortex) ผลิตฮอร์โมน คอร์ติโซน (Cortisone) สำหรับต้านทานโรคมีอิทธิพลต่อการเผาผลาญแป้งและโปรตีน รักษาความสมดุลของสารโซเดียม และโปแตสเซียมในเม็ดเลือด ควบคุมอาการอักเสบ ลดอาการแพ้ ควบคุมความสมดุลของน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย ถ้าขาดฮอร์โมนจะเกิดอาการอ่อนเพลีย 5.2 ส่วนชั้นในของต่อมหมวกไต (Medulla) ผลิตฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenalin) ซึ่งจะขับออกมามากเมื่อเกิดอารมณ์โกรธ ตกใจ กลัว ทำให้มีพละกำลังมากกว่าเวลาปกติ เนื่องจากมีน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น แรงดันของโลหิตเพิ่มขึ้น ถ้าขาดอะดรีนาลีน จะทำให้เป็นคนอ่อนแอทั้งกายและจิตใจ
6. ต่อมแพนครีส หรือต่อมในตับอ่อน
อยู่ที่บริเวณตับอ่อนมีคุณสมบัติเป็นทั้งต่อมมีท่อ ผลิตน้ำย่อยอาหาร คือ น้ำตับอ่อน และเป็นต่อมชนิดไม่มีท่อผลิตฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) และคลูคาเจน (Glucagen) โดยอินซูลินทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในระดับปกติ ถ้ามีอินซูลินน้อยจะทำให้น้ำตาลในเลือดมีมากเกินไปจะกลายเป็นโรคเบาหวาน ส่วนกลูคาเจน มีคุณสมบัติเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาลเมื่อร่างกายขาดหรือต้องการ
7. ต่อมเพศ
ต่อมเพศหรือต่อมโกแนด หมายถึงอัณฑะ (Testis) ในเพศชาย และรังไข่ (Ovary) ในเพศหญิง ต่อมเพศเป็นทั้งต่อมมีท่อและไร้ท่อ กรณีที่เป็นต่อมมีท่อจะทำหน้าที่สร้างอสุจิในเพศชาย และสร้างไข่ในเพศหญิงในกรณีเป็นต่อมไร้ท่อ จะผลิตฮอร์โมน ดังนี้ 7.1 อัณฑะ (Testis) ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศชาย ที่เรียกว่า แอนโดรเจน (Androgen) และ เทสโตสเตอโรน (Testosterone) ฮอร์โมนนี้ทำหน้าที่ควบคุมพัฒนาการของลักษณะเฉพาะของความเป็นชาย คือมีหนวด เครา ขน เสียงแตก และลักษณะอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นลักษณะผู้ชายโดยสมบูรณ์ 7.2 รังไข่ (Ovary) ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิง ที่เรียกว่าเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งจะทำให้รูปร่างของเด็กหญิง กลายเป็นหญิงสาวที่สมบูรณ์ คือ มีหน้าอก ตะโพกผาย เอวคอด และลักษณะอื่น ๆ นอกจากนี้ยังผลิตฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ทำให้เยื่อบุมดลูกเจริญ เพื่อเตรียมสำหรับการตั้งครรภ์
8. ต่อมไพเนียล
ต่อมไพเนียล ตั้งอยู่เหนือสมองส่วนกลาง มีลักษณะเป็นรูปกรวยขนาดเล็กผลิตฮอร์โมน ชื่อเมลาโทนินเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของระบบสืบพันธุ์ ต่อมนี้เมื่อเป็นผู้ใหญ่จะหายไป



















บรรณานุกรม

จรวยพร ธรณินทร์, กายวิภาคและสรีรวิทยาของการออกกำลังกาย
       มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พลศึกษา, 2519
สุเทพ นงเยาว์ จันทร์ผ่อง. คู่มือกายวิภาคศาสตร์ เล่ม 1, 2 มังคลาการพิมพ์,
       พญาไท, 2522
คณาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ,

        การพยาบาลผู้ใหญ่  ,2544

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น