วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Brain GYM หรือ การบริหารสมอง




การออกกำลังสมองหรือการบริหารสมองดังวิธีต่อไปนี้ สามารถช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพความจำได้

วิธีเสริมความจำ
1. ถ้าต้องการเพิ่มวงจรใหม่ในสมอง ใช้ มือข้างที่ไม่ถนัดทำกิจกรรมประจำวัน วันละหลายๆครั้ง เช่น ปรกติแปรงฟันด้วยมือขวา ก็เปลี่ยนมาใช้มือซ้าย หรือ รูดซิปด้วยมือซ้ายก็เปลี่ยนมาใช้มือขวาแทน สมองจะรู้ว่าคุณใช้มือผิดข้างเนื่องจากข้อมูลทางประสาทและการเคลื่อนไหวจากมือข้างนั้น ความสับสนเช่นนี้จะกระตุ้นให้เกิดวงจรใหม่ในสมอง เพราะสมองพยายามที่จะจัดการกับกิจกรรมใหม่ตามข้อมูลที่ได้มา (ใช้วิธีนี้กับกิจกรรมที่ง่ายๆและไม่เป็นอันตรายเท่านั้น)

2.เมื่อพยายามจำข้อมูลใดข้อมูลหนึ่ง ให้เชื่อมโยงกับสิ่งที่จะช่วยทำให้คุณจำได้ง่าย อาจเป็นวลี สูตร หรือคำคล้องจอง เช่น ถ้าอยากจะจำพยัญชนะอักษรกลาง อาจจะจำว่า ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่งก็ได้

3.เทคนิคช่วยจำอีกอย่างหนึ่ง การผูกเป็นเรื่องสั้นๆยิ่งสนุกสนาน ยิ่งเหลือเชื่อก็ยิ่งดี สมมติว่า ต้องไปธนาคาร ห้องสมุด ร้านขายเนื้อ และแวะบ้านเพื่อนที่ชื่อบ๊อบเพื่อคืนหนังสือ อาจจะแต่งเรื่องว่า เจ้าบิ๊กบ๊อบ คนขายเนื้อใช้ปืนปล้นธนาคารแล้วหนีไปซ่อนตัวในห้องสมุด

Brain GYM หรือ การบริหารสมอง การบริหารสมองนั้นแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มท่า คือ

1. การเคลื่อนไหวสลับข้าง (Cross Over Movement)
เป็นท่าที่ช่วยให้การทำงานของสมองสองซีกถ่ายโยงข้อมูลกันได้ เช่น สมองซีกซ้ายสามารถนำจินตนา การ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จาก สมองซีกขวามาใช้ช่วยในการอ่าน เขียน และช่วยให้กล้ามเนื้อ ทำงานประสานกันได้ดี การให้เด็กทำท่าเหล่านี้ จะทำให้ทราบว่าเด็กมีปัญหาในเรื่องการทำงาน ประสานกันของตา มือ และเท้าหรือไม่ หากพบจะได้ช่วยเหลือเด็กได้ทันท่วงที

1.1 ยกขาขวางอให้ตั้งฉากกับพื้นพร้อมกับยื่นแขนทั้งสองออกไปด้านหน้า คว่ำมือลงขนานกับพื้น แกว่งแขนทั้งสองไปด้านข้างลำตัว ตรงข้ามกับขาที่ยกขึ้น แกว่งแขนทั้งสองกลับมาอยู่ที่ด้านหน้า พร้อมกับวางเท้าขวาไว้ที่เดิม เอามือลง เปลี่ยนขา ทำเช่นเดียวกัน

1.2 ก้าวเท้าขวาวางหน้าเท้าซ้าย พร้อมกับยื่นแขนทั้งสองข้างออกไปด้านหน้า มือคว่ำลงขนานกับพื้น แกว่งแขนทั้งสองไปด้านข้างลำตัว ตรงข้ามกับขาที่ก้าวออกไป แกว่งแขนทั้งสองข้างกลับมาอยู่ด้านหน้า พร้อมกับชักเท้าขวาวางที่เดิม เอามือลง เปลี่ยนเท้าทำเช่นเดียวกัน

1.3 ยกขาขวางอไปด้านหลัง พร้อมกับยื่นแขนทั้งสองออกไปด้านหน้า มือคว่ำลง แกว่งแขนทั้งสองไปด้านข้างลำตัวตรงข้ามกับขาที่ยกขึ้น ให้มือซ้ายแตะส้นเท้าขวา แกว่งแขนทั้งสองกลับมาอยู่ด้านหน้า พร้อมกับวางเท้าขวาไว้ที่เดิม เอามือลง เปลี่ยนขา ทำซ้ำเช่นเดียวกัน

1.4 วิ่งเหยาะๆ อยู่กับที่ช้าๆ

1.5 นั่งชันเข่า มือสองข้างประสานกันที่ท้ายทอย เอียงข้อศอกซ้ายแตะที่หัวเข่าขวา ยกข้อศอกซ้ายกลับไปที่เดิม เปลี่ยนเป็นเอียงข้อศอกขวา ทำเช่นเดียวกัน

1.6 กำมือซ้ายขวาไขว้กันระดับหน้าอก กางแขนทั้งสองข้างออกห่างกันเป็นวงกลมแล้วเอามือกลับมาไขว้กันเหมือนเดิม

1.7 กำมือสองข้าง ยื่นแขนตรงไปข้างหน้า ให้แขนคู่กัน เคลื่อนแขนทั้งสองข้างพร้อมๆกัน หมุนเป็นวงกลมสองวงต่อกันคล้ายเลข 8ในแนวนอน

1.8 ยื่นแขนขวาออกไปข้างหน้า กำมือชูนิ้วโป่งขึ้น ตามองที่นิ้วโป่ง ศีรษะตรงและนิ่ง หมุนแขนเป็นวงกลม 2 วงต่อกันคล้ายเลข ในแนวนอน ขณะหมุนแขนตามองที่นิ้วโป้งตลอดเวลา เปลี่ยนแขน ทำเช่นเดียวกัน
2. การยืดส่วนต่างๆของร่างกาย (Lengthening Movement)
เป็นท่าที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของสมองส่วนหน้าและส่วนหลัง ทำให้มีสมาธิในการเรียนรู้และการทำงาน

2.1 ยืนหันหน้าเข้าผนัง เว้นระยะห่างเล็กน้อย ยกมือสองข้างดันฝาผนัง งอขาขวา ขาซ้ายยืดตรง ยกส้นเท้าขึ้น เอนตัวไปข้างหน้า เล็กน้อย พร้อมกับหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ วางส้นเท้าลง ตัวตรงหายใจออกช้าๆ งอขาซ้าย ทำเหมือนขาขวา

2.2 ยืนไขว้ขาทั้งสองข้าง ยื่นทรงตัวให้ดี หายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ ก้มตัวลงไขว้แขน หายใจออกช้าๆ ยืดตัวขึ้น เปลี่ยนขาทำเช่นเดียวกัน

2.3 นั่งไขว่ห้าง กระดกปลายเท้าขึ้น-ลง พร้อมกับนวดขาช่วงหัวเข่าถึงข้อเท้า เปลี่ยนขาทำเช่นเดียวกัน

2.4 มือขวาจับไหล่ซ้าย พร้อมกับหายใจเข้าช้าๆ ตามองมือขวา ดึงหัวไหลเข้าหาตัว พร้อมกับหันหน้าไปทางขวา ทำเสียง อูยาวๆ เปลี่ยนมือทำเช่นเดียวกัน

2.5 ใช้มือทั้งสองข้างทำท่ารูดซิปขึ้น (สุดแขนด้านล่าง แล้วยกขึ้นเหนือศีรษะ) หายใจเข้าช้าๆ  ทำท่ารูดซิปลง หายใจออกข้าๆ

3. การเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้น (Energizing Movement)
เป็นท่าที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของกระแสประสาท ทำให้เกิดการกระตุ้นความรู้สึกทางอารมณ์ เกิดแรงจูงใจเพื่อช่วยให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น

3.1 ใช้นิ้วชี้นวดขมับเบาๆ ทั้งสองข้างวนเป็นวงกลม

3.2 จุดตำแหน่งต่างๆ ในร่างกายที่จะกระตุ้นการทำงานของสมอง

3.2.1 ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้วางบริเวณกระดูกคอ ลูบเบาๆ อีกมือวางที่ตำแหน่งสะดือ กวาดตามองจากซ้ายไปขวา และจากพื้น ขึ้นเพดาน เปลี่ยนมือทำเช่นเดียวกัน

3.2.2 ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางแตะเหนือริมฝีปาก อีกมือวางที่ตำแหน่งกระดูกก้นกบ กวาดตามองจากพื้นขึ้นเพดาน หายใจเข้า-ออกช้าๆ ลึกๆ เปลี่ยนมือทำเช่นเดียวกัน

3.2.3 ใช้มือนวดกระดูกหลังใบหูเบาๆ อีกมือวางที่ตำแหน่งสะดือ ตามองตรงไปข้างหน้าไกลๆ จินตนาการวาดรูปวงกลมด้วยจมูก เปลี่ยนมือ ทำเช่นเดียวกัน

3.2.4 ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางวางที่ใต้คาง อีกมืออยู่ที่ตำแหน่งสะดือ หายใจเข้า-ออก ช้าๆ ลึกๆ สายตามองจากไกลเข้ามาใกล้ เปลี่ยนมือทำเช่นเดียวกัน

3.3 นวดใบหูด้านนอกเบาๆ ทั้งสองข้าง แล้วใช้มือปิดหูเบาๆ ทำช้าๆ หลายๆครั้ง ควรทำท่านี้ก่อนอ่านหนังสือ

3.4 ใช้มือทั้งสองเคาะที่ตำแหน่งกระดูกหน้าอก โดยสลับมือกันเคาะเบาๆ

4. ท่าบริหารร่างกายง่ายๆ (Useful)

4.1 นั่งบนเก้าอี้ ยกเท้าขวาขึ้นพาดบนขาซ้าย มือกุมฝ่าเท้าขวา หายใจเข้า ออกช้าๆ ลึกๆ 1 นาที แล้ววางเท้าลงบนพื้นเหมือนเดิม ให้เท้า ทั้งสองข้างแตะพื้น กำมือเข้าด้วยกัน แล้วใช้ปลายลิ้นกดที่ฐานฟันล่างประมาณ 1 นาที จะเป็นท่าทีมีประสิทธิภาพสูงมาก ช่วยลดความเครียด ความอึดอัด และความคับข้องใจ เปลี่ยนขา ทำซ้ำเช่นเดียวกัน

4.2 กำมือทั้งสองข้าง ยกขึ้นไขว้กันระดับตา ตามองมือที่อยู่ด้านนอก เปลี่ยนมือทำเช่นเดียวกัน
4.3 วางมือซ้อนกันที่ด้านหน้า หายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ คว่ำมือลง หายใจออกช้าๆ แล้ววาดมือออกเป็นวงกลม วางมือ ไว้ที่เดิม

4.4 ใช้มือทั้งสองปิดตาที่ลืมอยู่เบาๆ ให้สนิท จนมองเห็นเป็นสีดำมืดสนิทสักพัก แล้วค่อยๆเอามือออก เริ่มปิดตาใหม่ ควรจะทำ ก่อนอ่านหนังสือ

4.5 ใช้นิ้วมือทั้งสองข้างเคาะเบาๆทั่วศีรษะ จากกลางศีรษะออกมา ด้านขวาและซ้ายพร้อมๆกัน

เกิดอะไรขึ้นหลังบริหารสมอง(Brain GYM)
        หลังจากบริหารสมองอย่างต่อเนื่องจะพบว่าร่างกายสดชื้นขึ้น ทำให้สมองส่วน (Corpus Callosum) มีความแข็งแรงและเชื่อมสมองทั้งสองซีกให้ทำงานประสานกันอย่างคล่องแคล่วขึ้น เมื่อสมองเกิดการตื่นตัว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ การมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อน ไหว ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความตื่นเต้น และทำให้จิตใจสงบ เกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ เกิดแรงจูงใจ ทั้งยังช่วยเพิ่มความจำระยะสั้นและระยะยาว

         นางวิภา กมลพันธ์ ครูโรงเรียนวัดไผ่ตัน นำการบริหารสมองไปใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการช่วยเหลือเด็กนักเรียนชั้น ป. 1 ที่เรียนซ้ำชั้น ที่มีปัญหาแตกต่างกันไป อาทิ ไม่ตั้งใจเรียน ไม่มีสมาธิในการเรียนและการทำงาน นอกจากนี้บางคนยังมีพฤติกรรมชอบแกล้งเพื่อน เฉื่อยชา บางคนเรียนรู้ได้ช้าไม่ทันเพื่อน แต่หลังจากให้เด็กกลุ่มนี้ทำการบริหารสมองเป็นประจำทุกวัน วันละ 30 นาที ต่อเนื่องเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ปรากฏว่าปัญหาต่างๆลดลง เด็กนักเรียนแต่ละคนมีพัฒนาการเรียนรู้ในทางที่ดีขึ้น อาจมากน้อยแตกต่างกันออกไป
         
สมองเป็นสิ่งที่อยู่ข้างใน ครูไม่อาจรู้ได้ว่าเด็กคนไหนมีสมองส่วนใดบกพร่องไปบ้าง การเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับสมองของพวกเขาแต่เนิ่นๆ ด้วยการบริหารสมอง ซึ้งทำได้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่ช่วยแก้ไขความบกพร่องของเด็กในรายที่มีปัญหา และยังเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ให้กับเด็กปกติรายอื่นๆ อีกด้วย

ข้อควรรู้ก่อนบริหารสมอง
1. ควรทำการบริหารสมองท่าต่างๆ ซ้ำประมาณ 4- 6 ครั้งเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
2. ขณะทำการบริหาร ควรหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ แล้วหายใจออกช้าๆ อย่ากลั้นลมหายใจ
3. ไม่ควรรับประทานอาหารจนอิ่ม หรือรู้สึกหิวเกินไป
4. ไม่ควรบริหารสมองหลักจากดื่มแอลกอฮอล์
5. ดื่มน้ำบริสุทธิ์อย่างน้อยวันละ 12 แก้วขึ้นไป เนื่องจากสมองเป็นอวัยวะที่สูญเสียน้ำได้รวดเร็วมาก เมื่อสมองขาดน้ำจำทำให้สมองตื้อ

การเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับสมองของเด็กด้วยการบริหารสมอง ทำได้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่ช่วยเพิ่มทักษะทางกายและทางสมองให้กับเด็ก และยังเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ โดยหลังจากบริหารสมองอย่างต่อเนื่อง จะพบว่า ร่างกายสดชื่นขึ้น ทำให้ตัวเชื่อมสมองส่วนซ้ายและขวา (Corpus Callosum) มีความแข็งแรง และเชื่อมสมองทั้งสองซีกให้ทำงานประสานกันอย่างคล่องแคล่วขึ้น เมื่อสมองเกิดการตื่นตัว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ การมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความตื่นเต้น และทำให้จิตใจสงบ เกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้

การบริหารสมองแบ่งได้ 4 แบบคือ:
bulletการเคลื่อนไหวสลับข้าง (Cross over Movement)

bulletการยืดส่วนต่างๆของร่างกาย (Lengthening Movement)

bulletการเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้น (Energizing Movement)

bulletท่าบริหารร่างกายง่ายๆ (Useful)



การบริหารสมองนั้น มีท่าทางต่างๆดังนี้:

1. ยกขาขวางอให้ตั้งฉากกับพื้น พร้อมกับยื่นแขนทั้งสองออกไปด้านหน้า คว่ำมือลงขนานกับพื้น แกว่งแขนทั้งสองไปด้านข้างลำตัว

2. ตรงข้ามกับขาที่ยกขึ้น แกว่งแขนทั้งสองกลับมาอยู่ด้านหน้า พร้อมกับวางเท้าขวาไว้ที่เดิม เอามือลง เปลี่ยนขา ทำเช่นเดียวกัน





3. ก้าวเท้าขวาวางหน้าเท้าซ้าย พร้อมกับยื่นแขนทั้งสองออกไปด้านหน้า มือคว่ำลงขนานกับพื้น แกว่งแขนไปด้านข้างลำตัวตรงข้ามกับขาที่ก้าวออกไป แกว่งแขนทั้งสองข้างกลับมาอยู่ด้านหน้า พร้อมกับชักเท้าขวาวางที่เดิม เอามือลง เปลี่ยนเท้า ทำเช่นเดียวกัน

4. วิ่งเหยาะๆ อยู่กับที่ช้าๆ



5.นั่งชันเข่า มือสองข้างประสานกันที่ท้ายทอย เอียงข้อศอกซ้ายแตะที่หัวเข่าขวา
ยกข้อศอกซ้ายกลับไปที่เดิม เปลี่ยนเป็นเอียงข้อศอกขวา ทำเช่นเดียวกัน

6. กำมือซ้ายขวาไขว้กันระดับหน้าอก กางแขนทั้งสองข้างออกห่างกันเป็นวงกลม
แล้วเอามือกลับมาไขว้กันเหมือนเดิม



7. กำมือสองข้าง ยื่นแขนตรงไปข้างหน้า ให้แขนคู่กัน เคลื่อนแขนทั้งสองข้างพร้อมๆกัน
หมุนเป็นวงกลมสองวงต่อกัน คล้ายเลขแปดในแนวนอน

8. ยื่นแขนขวาออกไปข้างหน้า กำมือชูนิ้วโป้งขึ้น ตามองที่นิ้วโป้ง ศีรษะตรงและนิ่ง
หมุนแขนเป็นวงกลม 2 วงต่อกัน คล้ายเลขแปดในแนวนอน ขณะหมุนแขน ตามองที่นิ้วโป้งตลอดเวลา เปลี่ยนแขน ทำเช่นเดียวกัน



9. ยืนหันหน้าเข้าผนัง เว้นระยะห่างเล็กน้อย ยกมือสองข้างดันฝาผนัง
งอขาขวา ขาซ้ายยืดตรง ยกส้นเท้าขึ้น เอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
พร้อมกับหายใจเข้า ช้าๆ ลึกๆ วางส้นเท้าลง ตัวตรงหายใจออกช้าๆ
งอขาซ้าย ทำเหมือนขาขวา

end

จาก : นิตยสาร Premier Fashion. Issue.131, May - June 2008


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น