วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ใบความรู้ เรื่องการใช้ยา

ใบความรู้ เรื่องยา
หลักการใช้ ยา มีดังนี้ คือ

1) รู้ชื่อยา
เมื่อ ใช้ยาใดต้องรู้ชื่อยา ซึ่งต้องเป็นชื่อทางยาไม่ใช่ชื่อการค้า เช่น แอสไพริน พาราเซตามอล ฯลฯ เพราะอาจแพ้หรือเกิดอันตรายจากยา ถ้าไม่รู้ชื่อยาก็ยากแก่การแก้ไขช่วยเหลือให้ทัน และเมื่อแพ้ยานั้นแล้วก็ต้องจดจำชื่อไว้ ไม่ใช่ยานั้นอีก
2) วิธีใช้
คือ ต้องใช้ให้ถูกคน ถูกโรค ถูกทาง ถูกวิธี ถูกเวลา และถูกขนาด
ก. ถูกคน
โดยดูว่ายาชนิดใด ใช้กับเพศใด วัยใด เช่น ยาคุมกำเนิดสำหรับผู้หญิงไม่ใช่ผู้ชายกิน หรือยาของผู้ใหญ่ก็ไม่ใช่นำไปให้เด็กกิน เป็นต้น
ข. ถูกโรค
เช่น เมื่อปวดหัวก็ต้องกินยาแก้ปวด ลดไข้ (เช่น แอสไพริน หรือ พาราเซตามอล) ไม่ใช่กินยาแก้ปวดท้อง เวลาปวดท้องก็ไม่ใช่กินยาแก้ปวดลดไข้ เป็นต้น
ค. ถูกทาง
เช่น ยากิน (ก็ใช้กิน) ยาเหน็บ (ก็ใช้เหน็บช่องคลอด หรือทวารหนัก) ยาทา (ก็ใช้ทาผิวหนัง) ยาหยอด (ก็ใช้หยอดตาหูและจมูก) ยาพ่น (ก็ใช้พ่นจมูก) ฉีด (ก็ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อ) ทั้งหมดนี้ต้องใช้ให้ถูกต้อง
ง. ถูกวิธี
เช่น ยาลดกรดชนิดเม็ดต้องใช้เคี้ยวก่อนกลืน ยาโรคหัวใจบางอย่างต้องอมใต้ลิ้น ยาแก้ปวดต้องกินหลังอาหารหรือดื่มน้ำตามมากๆ เพราะยาอาจจะระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ยาน้ำ แขวนตะกอนต้องเขย่าขวดก่อนใช้ เป็นต้น
จ. ถูกขนาด
โดยคำนึงถึงโรคว่า โรคชนิดไหนต้องใช้ยาปริมาณเท่าไร นานเท่าไร ถี่แค่ไหน จึงจะทำให้หายได้ เช่น ยาปฏิชีวนะต้องกินอย่างน้อยประมาณ 5-7 วันติดต่อกัน หลังอาหาร 3 มื้อ และก่อนนอน เป็นต้น
การใช้ยาน้ำที่บอกขนาดเป็นช้อนชา ช้อนโต๊ะ เป็นปัญหาเข้าใจกันผิดๆ เพราะไม่เท่ากับช้อนกาแฟหรือช้อนกินข้าว คือ 1 ช้อนชา เท่ากับ 5 มิลลิลิตร หรือ 1 ช้อนสังกะสีเท่ากับ 1 ช้อนชาครึ่ง
1 ช้อนโต๊ะเท่ากับ 15 มิลลิลิตร เท่ากับ 3 ช้อนชา หรือเท่ากับ 2 ช้อนสังกะสี (ถ้าเป็นไปได้ควรซื้อช้อนหรือถ้วยยาที่บอกขนาดจากร้านขายยามาเก็บไว้ประจำ ตู้ยา)

ฉ. ถูกเวลา
เช่น ยาก่อนอาหาร ยาหลังอาหาร ก็ต้องกินตามเวลา เพื่อให้ยาดูดซึมได้ดีที่สุด ลดอาการข้างคียงอื่นๆ ให้ยาออกฤทธิ์ต่อร่างกายได้เหมาะสม
ยาก่อนอาหาร: ต้อง กินก่อนอาหารอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง เพราะยานี้จะดูดซึมได้ดีตอนท้องว่าง ส่วนใหญ่จะเป็นยาปฏิชีวนะ ยกเว้นยาบางตัวที่ระคายเคืองกระเพาะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน อาจกินหลังอาหารได้ เช่น เตตร้าซัยคลีน
ยาหลังอาหาร: ต้องกินหลังอาหาอย่างน้อย 15 นาที เพื่อให้ยาดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดร่วมกับอาหารในลำไส้เล็ก
ยาระหว่างมื้อ: คือ กินก่อนหรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง ยาที่มักกินระหว่างมื้อ ได้แก่ ยาลดกรดแก้กระเพาะ
ยาก่อนนอน: มัก เป็นยานอนหลับหรือยากล่อมประสาท เพื่อให้คนไข้ได้พักผ่อนเต็มที่แต่ ถ้าคนไข้หลับดีอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องปลุกให้ตื่นมากินยานอนหลับหรือยากล่อมประสาทอีก
ยาที่ต้องกินให้ครบระยะเวลา: มัก เป็นยาที่ต้องการให้มีปริมาณอยู่มากพอในกระแสเลือดตลอดเวลา เช่น ยาปฏิชีวนะต้องกินติดต่อกันอย่างน้อย 5-7 วัน หรือยาคุมกำเนิดที่ต้องกินวันละ 1 เม็ดก่อนนอนทุกวัน เพื่อให้ระดับฮอร์โมนของยาในร่างกายอยู่ในระดับสม่ำเสมอ
ยากินเมื่อมีอาการท่านั้น: ยาพวกนี้เป็นยาบรรเทาอาการ เมื่ออาการดีขึ้นก็ไม่จำเป็นต้องกินอีก ได้แก่ ยาแก้ปวด ลดไข้ ยาแก้ไอ ยาขับเสมหะ ยาลดน้ำมูก ฯลฯ
3) ข้อห้าม
ข้อห้าม ข้อควรระวังในการใช้ยาแต่ละชนิด ซึ่งอาจดูได้จากฉลาก หรือสอบถามจากผู้รู้ เช่น
- ยาแก้ปวดพวกแอสไพริน ห้ามกินในคนเป็นโรคกระเพาะ หอบหืด โรคเลือดไหลไม่หยุด ไข้เลือดออก
- ยาลดน้ำมูก อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม ไม่ควรขับขี่ยวดยาน หรือทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักร
- ยาลดกรดต้องไม่ใช่ร่วมกับยาปฏิชีวนะพวกเตตร้าซัยคลีน ยาบำรุงเลือด
- หญิงมีครรภ์ แม่ระยะให้นมลูก และเด็กต้องระมัดระวังในการใช้ยาให้มากขึ้น ยาบางชนิดห้ามใช้เด็ดขาด เพราะจะเป็นอันตรายต่อเด็กได้ เป็นต้น
4) วันหมดอายุ
ยา ทุกชนิดมีวันหมดอายุ ยาทั่วไม่ควรเก็บไว้ใช้เกิน 5 ปี ส่วนยาปฏิชีวนะ ให้สังเกตที่ฉลากจะบอกวันหมดอายุ เป็นภาษาอังกฤษ เช่น Expiry Date 6/12/86 (อีก 100 ปี คงจะเป็นภาษาไทย) แสดงว่า ยาหมดอายุ วันที่ 6 เดือนธันวาคม ค.ศ. 1986+543 = พ. ศ. 2529 ไม่ควรใช้ยานั้นหลังวันหมดอายุ
นอกจากถ้า เก็บยาไว้ไม่ดี เช่น ในที่อับชื้น ยาอาจเสื่อมสภาพ สังเกตได้จาก สี กลิ่น รส หรือลักษณะภายนอกเปลี่ยนแปลงไป เช่น ชื้น เยิ้ม เหลวเกาะกันแข็งเป็นก้อน มีผลึกวาว กลิ่นน้ำส้ม ต้องทิ้งไป ไม่นำมาใช้อีก เพราะนอกจากรักษาโรคไม่หายแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดพิษภัยแก่ร่างกายอีกด้วย

   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น