กินปลาบำรุงสมอง...ชะลอโรคอัลไซเมอร์
โดย Anonymous | วันที่ 17 มีนาคม 2552
แนะ! ช่อนทานอย่างน้อย 2
มื้อ/สัปดาห์ “กินปลาแล้วจะฉลาด”
นพ.ฆนัท ครุฑกูล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจและโภชนาวิทยาคลินิก
ศูนย์หัวใจหลอดเลือดและเมทาบอลิซึม โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบายถึงสารบำรุงสมองในเนื้อปลาว่า คือ โอเมก้า
3 ที่ช่วยพัฒนาเซลล์สมอง ลดไขมันในเลือด และช่วยให้การเต้นของหัวใจเป็นปกติ
เพราะฉะนั้น ควรรับประทานปลาอย่างน้อย 2 มื้อต่อสัปดาห์ หรือต้องได้รับในปริมาณ
500 - 1,000
มิลลิกรัมต่อวัน
โอเมก้า 3 คือ
กรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายขาดไม่ได้ มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งทางด้านหัวใจและสมองเป็นสารอาหารที่พบทั้งในปลาทะเลและปลาน้ำจืด
ขึ้นอยู่กับชนิดและฤดูกาล หากเป็นปลาที่มีไขมันมากจะมีโอเมก้า 3 มาก
หรือถ้าอยู่ในช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่ปลาจำศีล ปลาจะมีขนาดเล็ก เนื้อน้อย และมีไขมันต่ำ ส่วน ปลาในประเทศไทยที่มีโอเมก้า
3 มาก คือ ปลาสวายและปลาช่อน
สำหรับการปรุงอาหารของคนไทยนั้น
คุณหมอบอกว่า คนไทยนิยมบริโภคปลาด้วยวิธีการทอดสูงเป็นอันดับหนึ่ง ถึงร้อยละ 26.8
และการนึ่งหรืออบ ต้ม ปิ้ง หรือย่าง และผัดตามลำดับ ซึ่งอยากจะแนะนำว่า
การทอดทำให้สูญเสียโอเมก้า 3 ในเนื้อปลามากที่สุด
อีกทั้งยังได้น้ำมันที่เราใช้ทอดปลาซึมซับเข้ามาอีก
เมื่อรับประทานไขมันเพิ่มมากขึ้นจะเป็นผลให้ไขมันไปสะสมในร่างกายและเกิดโรคอ้วนได้
ดังนั้นเราควรปรับเปลี่ยนการปรุงมาเป็นนึ่งหรือต้มจะดีกว่า
ส่วนปลาที่นิยมบริโภคกันมากที่สุด ได้แก่ ปลาทู ปลานิล ปลาดุก ปลาสลิด และปลาช่อน
ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามคุณหมอบอกว่าพฤติกรรมการบริโภคปลาของคนไทย
จากการสำรวจผู้ป่วยและญาติที่เข้ามาใช้บริการรักษาอาการป่วยที่โรงพยาบาลรามาธิบดี
อายุระหว่าง 18 - 82 ปี จำนวน 260 คน พบว่ามีการบริโภคอาหารประเภทปลาในปริมาณน้อยเพียง
1 วันต่อสัปดาห์ จึงได้รับโอเมก้า 3 เฉลี่ยต่อวันเพียง 335.35 มิลลิกรัม
ถือว่ายังน้อยอยู่
จึงอยากเชิญชวนให้คนไทยรับประทานปลาให้มากกว่าเดิมเพื่อชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์หรือโรคความจำเสื่อมที่เกิดกับเราเมื่อมีอายุมากขึ้น
เนื้อปลาเป็นอาหารที่อร่อยไม่แพ้
เนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ แถมมีประโยชน์มากมาย หากรู้จักนำมาปรุงรสต่าง ๆ ให้หลากหลาย
ไม่ว่าจะเป็นต้มยำปลาช่อนรสแซบ ปลาสวายราดพริก ฯลฯ
เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเราเองควร
ใส่ใจหันมาบริโภคเนื้อปลากันให้มากขึ้นอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2
มื้อหรือมากกว่านั้นได้ยิ่งดี
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น