วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ศัพท์และความหมายของคำในวงการเคลื่อนไหวร่างกายและการออกกำลังกาย

ศัพท์และความหมายของคำในวงการเคลื่อนไหวร่างกายและการออกกำลังกาย
                        ¬ กระทรวงสาธารณสุข
            1.  physical  activity  (PA) กิจกรรมทางกาย  (พีเอ)  น.  การเคลื่อนไหวส่วนของร่างกาย  เกิดจากการ ทำงานของกล้ามเนื้อลาย  และมีการใช้พลังงานเพิ่มจากภาวะพัก  เป็นกิจกรรมในบริบท 4 ประเภท : งาน อาชีพ , งานบ้าน งานอดิเรก , และการเดินทาง  ตัวอย่างงานอดิเรก  ได้แก่  การเล่นกีฬา , นันทนาการ   (เช่น  เดิน ทางไกล , ถีบจักรยาน) , และการออกกำลังกาย
            2.  exercise  การออกกำลังกาย  น.  การเคลื่อนไหวร่างกายตามรูปแบบที่กำหนด  เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ หรือธำรงสมรรถภาพทางกาย
            3.  physical  fitness ความสมบูรณ์พร้อมทางกาย  น.  สภาพร่างกายที่สมบูรณ์พร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจ ด้วยความกระฉับกระเฉง  ไม่เหนื่อยล้า
            4.  physical  performance  การแสดงสมรรถภาพทางกาย  น.  ผลของการประกอบกิจกรรม  ซึ่งแสดงถึง ความทรหด , ความแข็งแรง , หรือความคล่องในการทำงานของกล้ามเนื้อ  ซึ่งเป็นผลรวมของกิจกรรมประจำวัน กับความสามารถทางพันธุกรรม
            5.  health  สุขภาพ  น.  สถานภาพสมบูรณ์ทางร่างกาย  จิตใจ  และทางสังคม  รวมถึงการปราศจากโรค
            6.  aerobic  training  การฝึกออกกำลังกายที่ใช้ออกซิเจน  น.  การฝึกเพิ่มพูนประสิทธิภาพของระบบผลิต พลังงานที่ใช้ออกซิเจน  เพื่อสร้างความทรหดของการหายใจและการไหลเวียนเลือด
            7agility  ความคล่องแคล่วว่องไว  น.  องค์ประกอบด้านทักษะของความสมบูรณ์พร้อมทางกายที่ทำให้ สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้รวดเร็วและแม่นยำ
            8.  anaerobic  training  การฝึกการผลิตพลังงานที่ไม่ใช้ออกซิเจน  น.  การฝึกเพิ่มประสิทธิภาพของ ระบบการผลิตพลังงานที่ไม่ใช้ออกซิเจน  ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ  และความทนทานต่อภาวะกรด –  เบสที่เสียสมดุลขณะ    ออกกำลังกายหนักหน่วง
            9.  balance  การทรงตัว  น.  องค์ประกอบด้านทักษะของความสมบูรณ์พร้อมทางกาย  ที่ทำให้ร่างกายอยู่ ในภาวะสมดุลทั้งขณะอยู่นิ่งและเคลื่อนไหว
            10.  body  composition  องค์ประกอบของร่างกาย  น.  ส่วนของร่างกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและความ สมบูรณ์พร้อมของร่างกาย  ซึ่งขึ้นกับปริมาณสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ  ไขมัน  กระดูกและส่วนคงชีพอื่นของร่างกาย
            11.  calorimetry  การวัดแคลอรี  น.  การวัดการเผาผลาญพลังงานในขณะร่างกายพักและขณะออกกำลัง กาย  โดยคำนวณอัตราและปริมาณของพลังงานที่ใช้ไป
            การวัดโดยตรง  โดยวัดอัตราและปริมาณการผลิตพลังงานของร่างกาย  จากปริมาณความร้อนที่ร่างกาย ผลิตขึ้น : การวัดกระทำในตู้วัดแคลอรี
            การวัดโดยอ้อม  โดยการวัดปริมาณแก๊สในลมหายใจ  ซึ่งกำหนดว่าปริมาณการแลกเปลี่ยนออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์  เท่ากับปริมาณแก๊สที่ใช้และปล่อยออกมา
            จากเนื้อเยื่อ  ตัวบ่งชี้อัตราการเผาผลาญพลังงานของเนื้อเยื่อมในร่างกายได้จากการวัดปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ ที่ผลิตและปริมาณออกซิเจนที่ใช้ไป
            12.  cardioreapiratory  endurance  (cardiorespiratory  fitness)  ความทรหด  (ความสมบูรณ์พร้อม)   ของระบบหัวใจ หายใจ  น.  องค์ประกอบสุขภาพของความสมบูรณ์พร้อมทางกาย  ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสามารถ ของระบบการไหลเวียนเลือดและการหายใจในการจ่ายออกซิเจนในขณะที่มีกิจกรรมทางกายอย่างยาวนาน
            13.  cool – down  exercise  การออกกำลังกายเบาเครื่อง  น.  การผ่อนการออกกำลังลงหลังจากที่ออก กำลังอย่างรุนแรง  ส่วนใหญ่เป็นการออกกำลังกายแบบอุ่นเครื่อง
            14.  coordination  การประสานงาน  น.  องค์ประกอบทักษะของความสมบูรณ์พร้อมทางกายที่สัมพันธ์ กับความสามารถใช้ระบบสัมผัส  เช่น  การมองเห็น  การได้ยิน  ร่วมกับส่วนของร่างกายที่กระทำให้กิจกรรมการ เคลื่อนไหวราบรื่นและแม่นยำ
            15.  detraining  การลดหรือหยุดฝึกกิจกรรมทางกายประจำ  น.  การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้น ภายหลังการลดหรือหยุดกิจกรรมที่เคยทำเป็นประจำ
            16.  endurance  training  การฝึกความทรหด  น.  การฝึกออกกำลังกายซ้ำ ๆ  โดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ   แบบใช้ออกซิเจน  เช่น  การเดิน , การปั่นจักรยาน , การว่ายน้ำ  (คำพ้อง endurance  activities  กิจกรรมฝึกความ ทรหด  น.)
            17.  flexibility ความงอได้  น.  องค์ประกอบสุขภาพของความสมบูรณ์พร้อมทางกายที่เกี่ยวข้องกับช่วง การเคลื่อนไหวของข้อต่อ
            18.  kilocalorie  (kcal)  กิโลแคลอรี  น.  หน่วยการวัดพลังงานของร่างกาย  คือ  1 กิโลแคลอรี  =  1,000   แคลอรี  =  4,184 จูล  หรือ  4.184 กิโลจูล
            19.  kilojoule  (kjoule)  กิโลจูล  น.  หน่วยการวัดพลังงานของร่างกาย  คือ  4.184  กิโลจูล  =  4,184  จูล   =  1,000  แคลอรี  =  1 กิโลจูล
            20. maximum  heart rate  (HR  max)  อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด  น.  อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ขณะออกกำลังจนหมดแรง
            21.  maximum  heart rate reserve  อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดสำรอง  น.  ค่าแตกต่างระหว่างอัตรา การเต้นของหัวใจสูงสุดกับอัตราขณะพัก
            22.  maximum  oxygen uptake  (VO2 Max)  ความสามารถสูงสุดของร่างกายในการใช้ออกซิเจนของ ร่างกายขณะออกกำลังกายเต็มที่  (ความหมายเหมือน  aerobic power, maximal oxygen consumption,  cardiorespiratory endurance capacity)
            23.  metabolic equialent  (MET)  ค่าเสมอกันของเมแทบอลิซึม  (เอ็มอีที)  น.  หน่วยค่าการใช้ออกซิเจน ของร่างกาย  โดยกำหนดว่า 1 หน่วยเอ็มอีที  มีค่าเท่ากับปริมาณออกซิเจนที่ใช้ไป 3.5 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1  กิโลกรัมใน 1 นาที
            24.  muscle  fiber  เส้นใยกล้ามเนื้อ  น.  เซลล์กล้ามเนื้อ
            25.  muscle  endurance  ความทรหดของกล้ามเนื้อ  น.  สมรรถภาพของกล้ามเนื้อที่ทำงานได้ต่อเนื่อง โดยไม่ล้า
            26.  overtraining  การฝึกเกินกำลัง  น.  การฝึกออกกำลังกายเกินกำลังที่ร่างกายสามารถจะทนได้
            27.  power  พละกำลัง  น.  องค์ประกอบของความสมบูรณ์พร้อมทางกายที่สัมพันธ์กับอัตราการทำงานที่ บุคคลสามารถกระทำได้
            28.  relative  perceived  exertion  (RPE)  ความรู้สึกสัมพันธ์ในการออกกำลัง  (อาร์พีอี)  น.  ความรู้สึก ถึงความหนักเบาสัมพันธ์ของงานที่บุคคลกำลังกระทำ
            29.  reaction  time  เวลาเกิดปฏิกิริยา  น.  ช่วงเวลาก่อนเกิดปฏิกิริยาตอบสิ่งเร้า  ซึ่งขึ้นอยู่กับความ สมบูรณ์พร้อมทางกาย
            30.  resistance  training  การฝึกต้าน  น.  การฝึกเพื่อสร้างความแข็งแรง  พละกำลัง  และความทรหด ของกล้ามเนื้อ
            31.  resting  heart  rate  อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก  น.  ค่าเฉลี่ยนาทีละ  60 – 80 ครั้ง
            32.  retraining  การฝึกใหม่  น.  การกลับมาฝึกใหม่หลังจากหยุดไประยะหนึ่ง  เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของ ร่างกาย
            33.  speed  อัตราเร็ว  น.  อัตราการเคลื่อนไหวร่างกายภายในเวลาอันสั้น  ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทักษะ ของความสมบูรณ์พร้อมทางกาย
            34.  strength  ความแข็งแรง  น.  สมรรถนะการทำงานของกล้ามเนื้อ
            35.  training  heart  rate  (THR)  อัตราการเต้นของหัวใจที่ต้องฝึก  (ทีเอชอาร์)  น.  อัตราการเต้นของ หัวใจที่ระดับการฝึกเป้าหมาย  คิดเป็นค่าร้อยละของความสามารถสูงสุดในการใช้ออกซิเจนของร่างกาย
            36.  vigorous  physical  activity  กิจกรรมทางกายรุนแรง  น.  กิจกรรมทางกายที่ใช้กลุ่มกล้ามเนื้อมัด ใหญ่ ๆ  ทำงานซ้ำ ๆ  เป็นจังหวะอย่างต่อเนื่อง  ที่ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดร้อยละ  70  ขึ้นไปตามเกณฑ์ อายุ  (ประมาณ  220  ครั้งต่อนาทีลบด้วยอายุ)  ซึ่งประมาณเท่ากับร้อยละ  60  ของสมรรถภาพสูงสุดของหัวใจและ การหายใจ  ซึ่งพอเพียง
            ตัวอย่าง  กิจกรรมทางกายรุนแรง  ได้แก่  การวิ่งสเกต , การกรรเชียงเรือ , การกระโดดเชือก , การเล่นสกี ,          การธุดงค์ , การตีเทนนิส/แบดมินตัน/สควอช , การเล่นฟุตบอล  และบาสเกตบอล
            37.  moderate  physical  activity  กิจกรรมทางกายระดับปานกลาง  น.  การเคลื่อนไหวร่างกายที่ใช้ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ทำงานเทียบอย่างน้อยเท่ากับการเดินเร็ว ๆ  นอกจากนั้น  ได้แก่  การว่ายน้ำ , การขี่จักรยาน , การ เต้นรำ , งานบ้าน , งานสวน , งานสนาม  และงานอาชีพบางประเภท
            38.  fatigue  ความล้า  น.  สมรรถนะการทำงานลดลงของกล้ามเนื้อที่แรงต้านค่าหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง
            39.  energy  expenditure/calorie  expenditure  พลังงานที่ใช้ในกิจกรรม  น.  ปริมาณพลังงานที่ใช้ใน กิจกรรมทางกายแต่ละครั้ง  หน่วยเป็น  กิโลแคลอรี  คำนวณจากน้ำหนักตัว  ระดับความหนักเบาของงาน , เวลาที่ ทำกิจกรรม  และ         ค่าเอ็มอีทีของกิจกรรมนั้น ๆ  พลังงานที่ใช้ในแต่ละกิจกรรม  (kcal/session)  เท่ากับน้ำหนัก ตัว  (กก.)  X  ด้วยเวลาที่ทำ      กิจกรรม  (ชม.)  X  ค่าเอ็มอีทีของกิจกรรมนั้น
            40.  isometric  exercise  การออกกำลังแบบไอโซเมตริก  น.  การออกกำลังกายที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ความยาวของใยกล้ามเนื้อ  มีแต่การตึงตัวเพิ่มขึ้น  เช่น  การออกแรงดึงหรือดันวัตถุที่อยู่กับที่
            41.  isotonic  exercise  การออกกำลังแบบไอโซทอนิก  น.  การออกกำลังกายที่ใยกล้ามเนื้อมีการ เปลี่ยนแปลงความยาว  ได้แก่  การออกกำลังกายต้านการเคลื่อนไหวหรือน้ำหนักที่คงที่  เช่น  การฝึกยกน้ำหนัก   และกายบริหาร
            42.  isokinetic  exercise  การออกกำลังกายแบบไอโซไคเนติก  น.  การออกกำลังกายตามเครื่องที่ปรับตั้ง การเคลื่อนไหว  อัตราความเร็ว  และแรงต้าน
            43.  concentric  contraction  การหดตัวตาม  น.  การทำงานของกล้ามเนื้อโดยการหดตัวของใยกล้ามเนื้อ   เช่น    การงอข้อ , การนำส่วนของร่างกายเข้าประชิดกัน
            44.  eccentric  contraction  การหดตัวขณะยืด  น.  การทำงานหดตัวของกล้ามเนื้อขณะที่ใยกล้ามเนื้อยืด ยาวออก  (การออกกำลังเชิงลบ)  เช่น  การหย่อนตัวลงขณะเล่นบาร์เดี่ยว
            45.  warm – up  exercise  การออกกำลังอุ่นเครื่อง  น.  กิจกรรมเบา ๆ  ถึงปานกลางที่กระทำก่อนทำ กิจกรรมหลัก  เพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย  และเพิ่มประสิทธิภาพการประกอบกิจกรรมทางกาย
            46.  wellness  ความอภิรมย์  น. ความสุขสบายทั้งกาย  ใจ  และจิตวิญญาณ  ทำให้การดำรงชีวิตราบรื่น                 การทำงานประสบผลสำเร็จ  และเป็นบุคคลมีประโยชน์แก่สังคม  นับเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการมีสุขภาพดี
      47.  well – being  สุขภาวะ  น.  ภาวะที่รู้สึกพึงพอใจจากการมีสุขภาพดี  และประสบความสำเร็จ
                 48.  threshold  ระดับการฝึกออกกำลัง  น.  ระดับของกิจกรรมทางกายที่เพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย  เพื่อให้เกิด ความสมบูรณ์พร้อมทางกาย  ไม่ใช้กิจวัตร  หรือการเพิ่มน้อยเกินระดับ  เพราะจะไม่ช่วยเสริมความสมบูรณ์พร้อม ของร่างกาย
            49.  one  repetitions  maximum  (RM)  ปริมาณแรงต้านสูงสุดที่กำหนด  (อาร์เอ็ม)  น.  ปริมาณสูงสุด ของแรงต้านที่บุคคลสามารถพิชิตได้ในช่วงเวลาที่กำหนด    มีหน่วยเป็นจำนวนครั้งต่อแรงต้านสูงสุด เช่น 1   อาร์เอ็ม  เท่ากับน้ำหนักมากที่สุดที่ยกได้เพียง  1  ครั้ง  6 อาร์เอ็ม  ยกได้ 6 ครั้ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น