วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความเป็นมาของกรมพลศึกษา


  • ความเป็นมาของกรมพลศึกษา
                    กรมพลศึกษาได้รับการสถาปาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ให้เป็นกรมหนึ่งในกระทรวงธรรมการ ตามพระราชบัญญัติการปรับปรุงกระทรวง ทบวง  พ.ศ. 2476 โดยให้มีเจ้าที่จัดการพลศึกษาของชาติ มีสถานที่ตั้งในกระทรวงธรรมการ ถนนจักรเพชร รัฐบาลในสมัยนั้นมีนโยบายที่จะให้ที่แม้ว่า ได้รับจริยศึกษาและพุทธิศึกษามาแล้วให้ได้รับพลศึกษาด้วย ซึ่งจะทำให้เขามีร่างกายแข็งแรง ใจคอหนักแน่น ไม่เป็นคนขี้โรค อันจะทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา พลศึกษาจึงกลายเป็นหลักสำคัญของการศึกษาของชาติสืบมาจนกระทั่งปัจจุบัน
                    ในสมัยที่ยังไม่มีกรมพลศึกษานั้นโรงเรียนส่วนใหญ่มิได้เอาใจใส่ในการพลศึกษาอย่างแท้จริง มุ่งแต่จะให้การอบรมความรู้และจริยศึกษาเท่านั้น เจ้าหน้าที่ไม่มีเวลาพอที่จะส่งเสริมแต่อย่างใด จึงเป็นการสมควรที่จะตั้งกรมพลศึกษาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ และในขณะเดียวกันก็เพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลในสมัยนั้นยอมรับการพลศึกษา
                    ระยะแรกของการแต่งตั้งพลศึกษาทางราชการได้มอบหมายงานให้ อำมาตย์เอกพระยา ประมวญ วิชาพูล(วงษ์ บุญ- หลง) ตำแหน่งปลัดทูลฉลอง(ปลัดกระทรวง) รักษาราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษาจนกระทั่งต่อมาได้แต่งตั้ง นาวาโท หลวงศุภชลาศัย ร.น. (บุง ศุภชลาศัย) เป็นอธิบดีคนแรกของกรมพลศึกษา ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2477
                    นาวาโท หลวงศุภชลาศัย ร.น. ได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2477 จนถึง 30 เม.ษ. พ.ศ. 2485 และได้ริเริ่มกิจการทางพลศึกษาของชาติไว้หลายประการ ทั้งที่เป็นเรื่องของการพลศึกษาและกีฬา การสุขาภิบาลโรงเรียน(ภายหลังสังกัดกระทรวงสาธารณสุข) กิจการลูกเสือและยุวกาชาด เป็นต้น อันเป็นพื้นฐานของการจัดการศึกษาขิงชาติให้มีความสมดุลระหว่างพุทธิศึกษา จริยศึกษา และพลศึกษา นับเป็นความคิดริเริ่มที่นักการศึกษาทุกคนต่างประจักษ์ในความสามารถและเป็นที่มาของห่วงไขว้สามห่วง ประดิษฐานอยู่ใต้รูปพระพลบดี ซึ่งได้แก่ ห่วงสีขาวแทนพุทธิศึกษา ห่วงสีเหลืองแทนจริยศึกษา และห่วงสีเขียวแทนพลศึกษา ที่นาวาโท หลวงศุภชลาศัย ร.น.ได้คิดประดิษฐ์ขึ้น มีความหมายโดยนัยว่า บุคคลจะมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง และก่อประโยชน์ให้กับชาติบ้านเมืองได้แท้จริงนั้นจะต้องมีความสมดุลระหว่างความรู้ ความประพฤติ และพลานามัย ดุจห่วงทั้งสามดังกล่าว ได้วางทับกันอยู่นั้นเอง
                   

    กรมพลศึกษาได้แบ่งส่วนราชการในปี 2476 ดังนี้
    1. สำนักงานเลขานุการพลศึกษาแบ่งเป็น
                    1.1 แผนกสารบรรณ
                    1.2 แผนกสถิติและทะเบียน
    2. กองพลศึกษา
    3. กองกีฬา
    4. กองลูกเสือ
    5. กองอนุสภากาชาด
    6. กองสุขาภิบาลโรงเรียน
                    6.1 แผนกตรวจและรักษา
                    6.2 แผนกสุขาภิบาล
                    6.3 แผนกสุขศึกษา
                    6.4 แผนกตรวจค้นและสถิติ
    ในปี พ.ศ. 2478 นาวาโท หลวงศุภชลาศัย ร.น. ได้จัดตั้งหน่วยสารวัตรนักเรียนขึ้นเพื่อคอยควบคุมดูแลความประพฤติของนักเรียน และย้ายสนามการแข่งขันกรีฑานักเรียนจากบริเวณโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ไปทำการแข่งขันที่สนามหลวง และในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2478 ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินตำบลวังใหม่ อำเภอปทุมวันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติ และอาคารโรงเรียนพลศึกษากลาง ในเนื้อที่ 114 ไร่ 1 งาน 25.12 ตารางวา
                    ในปี พ.ศ. 2479 เริ่มงานแข่งขันกรีฑาประชาชนชายเป็นครั้งแรก ณ บริเวณสนามหลวง นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี จากนั้นมาก็จัดการแข่งขันกรีฑาประชาชนชายเป็นประจำทุกปี
                    ในปี พ.ศ. 2481 กรมพลศึกษาได้ย้ายที่ทำการจากกระทรวงธรรมการ ถนนจักรเพชร ไปอยู่ ณ โรงเรียนพลศึกษากลางที่เพิ่งจะสร้างเสร็จใหม่ๆ ที่ตำบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ขณะเดียวกันก็ย้ายการแข่งขันกรีฑานักเรียนและประชาชนจากสนามหลวง มาแข่งขัน ณ สนามกรีฑา สถานแห่งชาติแทน
                    กรีฑาสถานแห่งชาติภายหลังชาวพลศึกษาได้ตั้งชื่อใหม่เป็นสนามศุภชลาศัยเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแก่ นาวาโท หลวงศุภชลาศัย ร.น. ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการพลศึกษาให้แก่ชาติไทยอเนกอนันต์ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณความดีดังกล่าว จึงได้ใช้นามสกุลของท่านเป็นชื่อของกรีฑาสถาน สนามศุภชลาศัยสืบมาจนกระทั่งปัจจุบัน
                    ในปี พ.ศ. 2482 กรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑาประชาชนหญิงเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ทางการได้ให้เงินสนับสนุนกิจการลูกเสือและการพลศึกษาเป็นครั้งแรก และนอกจากนั้นได้ย้ายวิชาพลศึกษาจากสวนกุหลาบวิทยาลัยมาทำการเรียนการสอน ณ โรงเรียนพลศึกษากลางตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
                    โรงเรียนพลศึกษากลาง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสนามกีฬาแห่งชาติปัจจุบันนั่นเอง
                    พ.ศ. 2483 เริ่มใช้ระบบนักกีฬาอาวุโส เป็นผู้กล่าวนำคำปฏิญาณแก่นักเรียนเป็นครั้งแรกและเป็นครั้งแรกที่กล่าวในการแข่งขันกีฬานักเรียน
                    พ.ศ. 2484 ดำเนินการอบรมครูพลศึกษาทั่วราชอาณาจักร ณ ตึกกรมพลศึกษาและได้ก่อสร้างสนามกรีฑาที่ได้มาตรฐาน
                    พ.ศ. 2485 ได้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการกรมพลศึกษาใหม่ให้เกิดความเหมาะสมเพราะกองสุขาภิบาลโรงเรียนได้ย้ายไปสังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงจัดระเบียบยฃใหม่เป็นกองต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
    1. สำนักงานเลขานุการกรม
    2. กองกายบริหาร
    3. กองกีฬา
    4. กองลูกเสือ
    5. กองอนุสภากาชาด
    6. กองกรีฑาสถานแห่งชาติ
    และปีนี้ได้เกิดสงครามมหาเอเชียบูรภากองทัพญี่ปุ่นได้ใช้บริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่พักกองทหาร หลวงศุภชลาศัย อธิบดีกรมพลศึกษาจึงได้ย้ายสถานที่ทำการกรมพลศึกษาไปตั้งที่วังจันทร์เกษม และย้ายโรงเรียนพลศึกษากลางไปตั้งที่โรงเรียนวัดบวรนิเวศ จนสิ้นสมัยของท่าน
                    มหาเสวกโทพระยาจินดารักษ์(จำลอง สวัสดิชูโต) ได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2485 และได้เริ่มการย้ายที่ทำการกรมพลศึกษา กลับมาจากวังจันทร์เกษมาอยู่ ณ สนามศุภชลาศัย ในสนามกีฬาแห่งชาติและดำเนินการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในปี 2488 พร้อมกับบูรณะฟื้นฟูสนามกีฬา และจัดตั้งงบประมาณด้านพลศึกษาให้กับจังหวัดทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร
                    หลวงประเวศ วุฑฒศึกษา(นายประเวศ  จันทนยิ่งยง) ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2490 ได้ปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติมากมาย พอสรุปผลงานได้ดังต่อไปนี้
    1. ปรับปรุงส่วนราชการกรมพลศึกษาให้เหมาะสมกับกาลสมัยดังนี้
    1.1 สำนักงานเลขานุการกรมพลศึกษา
    1.2 กองส่งเสริมและตรวจการพลศึกษา (เปลี่ยนชื่อมาจากกองกายบริหาร)
    1.3 กองกีฬา
    1.4 กองลูกเสือ
    1.5 กองอนุกาชาด(เปลี่ยนชื่อมาจากกองอนุสภากาชาด)
    1.6 กองกรีฑาสถานแห่งชาติ
    และยกฐานะงานเล็กๆ ขึ้นเป็นแผนกอีก 3 แผนก ได้แก่ แผนกคลัง เพื่อควบคุมการเงินของกรม แผนกสารวัตรนักเรียน เพื่อความประพฤตินักเรียนในสาธารณะเดิม อยู่ในกองกายบริหาร  และแผนกเผยแพร่ เพื่อเผยแพร่กิจกรรมของกรมให้อยู่ในสังกัดสำนักงานเลขานุการกรม ซึ่งเดิมมีอยู่ 2 แผนก เพิ่มใหม่รวมเป็น 5 แผนกด้วยกัน
    2. ประกาศใช้ พระราชบัญญัติลูกเสือแห่งชาติ พ.ศ. 2490
    3. จัดตั้งงบประมาณด้านกีฬาให้กับสนามกีฬาต่างๆ เพื่อสนับสนุนการแข่งขันกีฬาประชาชน
    4. เปลี่ยนชื่อโรงเรียนพลศึกษากลางเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษา และแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรเสียใหม่
                    นายอภัย  จันทวิมล ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมพลศึกษา เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2495 จนถึงวันที่ 22 เมษายน 2503 ได้สร้างผลงานพอสรุปได้ดังนี้
                    2495 จัดการอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือในส่งนกลาง ณ ค่ายวัดพระศรีมหาธาตุบางเขนและจัดการชุมนุมลูกเสือทั่วราชอาณาจักร ครั้งที่ 3 บริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติปทุมวัน และได้จัดสร้างโรงยิมเนเชียม 1 ปัจจุบันคือ อาคารกีฬานิมิบุตร
                    2496 เปิดอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือเขต 11 (นครราชสีมา)










                    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น