ความหมายของยาเสพติด
ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าโดยจะกิน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้ว จะทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเรื่อย ๆ มีอาการอยากยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง สุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง
ประเภทของยาเสพติด
ประเภทของยาเสพติด จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท เครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด รวมทั้งสารระเหยประเภทต่าง ๆ เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมีร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์เ ปลี่ยนแปลงง่าย บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเองหรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม โคคาอีน โคเคน เอ็กซ์ตาซี มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการหงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสน คลุ้มคลั่ง หวาดระแวง หรือมีอาการทางประสาท
3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที และเห็ดขี้ควาย เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอนทางตา หู จมูก และลิ้น เช่น ฝันเฟื่อง เห็นแสงสีวิจิตรพิสดาร หูแว่วได้ยินเสียงประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตัวเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต
4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน อาจกด กระตุ้น หรือหลอนประสาทร่วมกัน ได้แก่ กัญชา ผู้เสพติดมักจะเกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว หรือมีอาการหวาดระแวง ความคิดสับสน ควบคุมตัวเองไม่ได้ และป่วยเป็นโรคจิตในที่สุด
ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าโดยจะกิน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้ว จะทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเรื่อย ๆ มีอาการอยากยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง สุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง
ประเภทของยาเสพติด
ประเภทของยาเสพติด จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท เครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด รวมทั้งสารระเหยประเภทต่าง ๆ เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมีร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์เ ปลี่ยนแปลงง่าย บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเองหรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม โคคาอีน โคเคน เอ็กซ์ตาซี มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการหงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสน คลุ้มคลั่ง หวาดระแวง หรือมีอาการทางประสาท
3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที และเห็ดขี้ควาย เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอนทางตา หู จมูก และลิ้น เช่น ฝันเฟื่อง เห็นแสงสีวิจิตรพิสดาร หูแว่วได้ยินเสียงประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตัวเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต
4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน อาจกด กระตุ้น หรือหลอนประสาทร่วมกัน ได้แก่ กัญชา ผู้เสพติดมักจะเกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว หรือมีอาการหวาดระแวง ความคิดสับสน ควบคุมตัวเองไม่ได้ และป่วยเป็นโรคจิตในที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น