ใบความรู้ เรื่อง วิธีการออกกำลังกาย
****************************************************************************************************************************
การออกกำลังกาย ( Exercise ) หมายถึงการเคลื่อนไหวร่างกายหรือการกระตุ้นให้ส่วนต่างๆของร่างกายทำงานกว่าภาวะปกติอย่างเป็นระบบระเบียบ
โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของเพศ วัย และสภาพร่างกายของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ จนส่งผลให้ร่างกายมีความสมบูรณ์แข็งแรง และนอกจากนี้ยังทำให้มีสุขภาพกายสุขภาพจิตดีอีกด้วย
หลักการปฏิบัติในการออกกำลังกาย
การออกกำลังเพื่อสุขภาพ เป็นวิธีการที่นำมาให้ช่วยส่งเสริมสุขภาพของบุคคลให้แข็งแรงและชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ
ของร่างกายได้อย่างดี รูปแบบไม่เหมาะสมก็จะส่งผลเสียต่อผู้ปฏิบัติได้รูปแบบของการออกกำลังกายแบ่งเป็น
5 แบบ ดังนี้
1. แบบการเกร็งกล้ามเนื้อโดยไม่เคลื่อนไหวอวัยวะ (Isometric
Exercise ) เป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มขนาดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อการออกกำลังกายแบบนี้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบหัวใจและ
หลอดเลือดเช่น
การเกร็งกล้ามเนื้อเพื่อต้านน้ำหนัก เป็นต้น
2. แบบต้านน้ำหนัก ( Isotomic Exercise
) เป็นการออกกำลังโดยการเกร็งกล้ามเนื้อพร้อมกับมีการเคลื่อนไหวข้อต่อแขนหรือจาด้วย
เช่น การบริหารโดยการยกน้ำหนัก การยุบข้อ ดันพื้น เป็นต้น
3. แบบต้านทานความเร็วเต็มที่ ( Isokinetic
Exercise ) เป็นการออกกำลังกายโดยอาศัยเครื่องมือของการออกกำลังกายที่มีการปรับความเร็วและแรงต้านได้
เช่น การวิ่งบนลู่กลที่ปรับความเร็วได้
เป็นต้น
4. แบบไม่ใช้ออกซิเจน ( Anaer Exercise )เป็นการออกกำลังกายโดยที่ร่างกายไม่ได้นำออกซิเจนออกมาสันดาปพลังงาน
แต่กล้ามเนื้อจะใช้พลังงานนอกจากสารเอทีพี (ATP) สาร ซีพี (CP) และสารไกลโคเจน ( Glycogen ) ที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงาน เช่น
การฝึกระบบประสาทเสรีด้วยการอบแห้งร่วมกับการอาบน้ำเย็น
(ซาวน์น่า)
5. แบบใช้ออกซิเจนหรือแบบแอโรบิก ( Aerobic
Exercise ) เป็นการออกกำลังกายที่กระทำกิจกรรมติดต่อกันเป็นเวลานาน
จนพอที่จะกระตุ้นให้ร่างกายใช้พลังงานจากกระบวนการสันดาปออกซิเจนเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ
จนสามารถเพิ่มให้ปอดและหัวใจทำงานเต็มที่
กิจกรรมการออกกำลังกายแบบแอโรบิกมีมากมายหลายชนิด เช่น
การเดินเร็ว การวิ่งเหยาะ การว่ายน้ำ การถีบจักรยาน การรำมวยจีน การเต้นแอโรบิก เป็นต้น
แนวทางปฏิบัติในการออกกำลังกาย
1. ให้ยึดหลัก 4 พ ซึ่งประกอบด้วยคำว่า บ่อยพอ หนักพอ มากพอ และพอใจ
2. พิจารณาสุขภาพของตนเอง
3. กำหนดโปรแกรมในการออกกำลังกายชองตนเอง
4. ผู้ป่วยหรือผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อควรระมัดระวังในการออกกำลังกาย
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น