การฝึกด้วยพลัยโอเมตริก หมายถึงวิธีการฝึกกำลังและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ด้วยการกระโดดสลับเท้า เขย่งเท้าข้ามรั้ว กระโดดข้ามรั้ว และกระโดดขึ้นอัตจันทร์
การฝึกพลัยโอเมตริก หมายถึง
การฝึกกล้ามเนื้อที่เชื่อมต่อระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกับความเร็วในการหดตัวของกล้ามเนื้อทำให้เกิดกำลังกล้ามเนื้อโดยอาศัยกิจกรรมการกระโดด การกระโดดเขย่ง
การกระโดดอยู่กับที่ด้วยการใช้ลำตัวส่วนล่างและการหมุนเหวี่ยง การทุ่มและผลักลูกเมดิซินบอลด้วยการใช้ลำตัวส่วนบน
การฝึกแบบพลัยโอเมตริก หมายถึง
การฝึกแบบปกติแล้วฝึกเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยวิธีการกระโดดแบบต่างๆ สัปดาห์ละ
3 วัน วันละ 3 ชั่วโมง
เป็นเวลา 8 สัปดาห์
พลัยโอเมตริกเมตริก หมายถึง
การออกกำลังกายหรือการฝึกบริหารร่างกายที่ใช้ กำลังความแข็งแรงและความรวดเร็วในการหดตัวของกล้ามเนื้อ เพื่อการเคลื่อนไหวอย่างฉับพลัน
คินทินแมนและคณะ ได้อธิบายถึง
พลัยโอเมตริกว่าเป็นคำที่มาจากภาษากรีกเพลธีน หมายถึง
เพิ่มขึ้นโดยมีรากศัพท์มาจากภาษากรก
2 คำ คือ
พลัยโอและเมตริก ที่แปลว่า มากกว่าและการวัดดังนั้น พลัยโอเมตริก
หมายถึง การบริหารกายหรือการออกกำลังกายที่สามารถทำให้กล้ามเนื้อเกิดความแข็งแรงมากที่สุดในระยะเวลาน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้
การฝึกพลัยโอเมตริกเป็นจริงจำเป็นต่อการเล่นกีฬาที่ต้องการความรวดเร็วระดับสูงของความแข็งแรงในการเคลื่อนที่.
การฝึกกำลังด้วยวิธีพลัยโอเมตริก (plyometric training ) หมายถึง
วิธีการฝึกกล้ามเนื้อเพื่อให้เกิดความแข็งแรงและความเร็วในการหดตัวของกล้ามเนื้อขณะออกกำลังหรือเล่นกีฬาที่เรียกว่า พลังระเบิดของกล้ามเนื้อ ( Explosive Power
) ซึ่งจะมีผลต่อความสามารถในการกระโดด
การฝึกกำลังด้วยวิธีใช้น้ำหนัก หมายถึง
วิธีการฝึกกล้ามเนื้อโดยการใช้น้ำหนักเป็นแรงต้านทาน เพื่อให้เกิดความแข็งแรง และความเร็วในการหดตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะมีผลต่อความสามารถในการกระโดด
การฝึกด้วยน้ำหนัก หมายถึง
วิธีการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
โดยใช้ลูกน้ำหนักและเครื่องฝึกด้วยน้ำหนักแบบสถานี
ทฤษฎีและความหมายเกี่ยวกับพลัยโอเมตริก
ซลเวสเตอร์ ได้กล่าวว่า
ความคิดรอบยอดพื้นฐานทางสรีรวิทยาของพลัยโอเมตริกก็คือ
การทำให้กล้ามเนื้อมีความเครียดและการเหยียดตัวที่รวดเร็วแล้วตามด้วยการหดตัวแบบ
concentric ที่เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ซึ่งการหดตัวแบบนี้เกิดขึ้นเมื่อความยาวของกล้ามเนื้อสั้นเข้า
สุวิมล
ตั้งสัจพจน์ กล่าวถึง การหดตัวในลักษณะดังกล่าวนี้ว่า เป็นความสามารถในการพัฒนาความแข็งแรงในระดับสูงได้อย่างรวดเร็ว ที่เรียกความแข็งแรง แรงระเบิด การออกกำลังที่เหมาะสมกับการพัฒนาความแข็งแรงที่สุด ได้แก่
การกระโดดประเภทต่างๆ
แรดคลิฟ
และ ฟาเรนติโนส กล่าวว่า
พลัยโอเมตริกว่าจุดเริ่มต้นของคำว่า
พลัยโอเมตริกมีรากฐานมาจากกรีกในคำว่า
เพลไทยิน หมายถึง การแผ่
ขยาย การบวก หรือ
การเพิ่มขึ้น โดยมาจากภาษากรีกคือคำว่าไพลโอ และเมตริก
หมายถึง
การวัดปริมาณของการเพิ่มมากขึ้นและ
การฝึกพลัยโอเมตริกนั้น
ส่งผลเกี่ยวกับขีดความสามารถของนักกีฬาให้ดีขึ้นด้วย
การฝึกพลัยโอเมตริกนั้นเป็นการเชื่อมระหว่างความแข็งแรงและทักษะเฉพาะทางของนักกีฬาที่ใช้ในการแข็งขัน
ฮาเซลดาย
กล่าวถึง
หลักการฝึกพลัยโอเมตริกอยู่ที่การทำให้เกิดความตึงมากที่สุดเมื่อกล้ามเนื้อมีการเหยียดตัวอย่างรวดเร็วความเร็วของแรงที่กระทำต่อกล้ามเนื้อมากเท่าไรจะทำให้เกิดความตึงมากเท่านั้นอัตราการเหยียดตัวมีความสำคัญมากกว่าปริมาณการเหยียดตัวและจำนวนกล้ามเนื้อที่ใช้ก่อนการหดตัวจะเกิดขึ้นตามความยาวที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
ชู
กล่าวว่า
การฝึกพลัยโอเมตริกเป็นแบบไม่ใช้ออกซิเจนและเป็นการใช้พลังงานสูงสุดเพื่อทำให้เกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่า พลังระเบิด
โปรแกรมการฝึกที่เป็นประโยชน์สำหรับความพยายามใช้แรงสูงสุดในการเคลื่อนไหว
สำหรับการทำซ้ำในแต่ละคนรั้งและระหว่างชุดของการออกกำลังกายถ้าร่างกายพักฟื้นได้อย่างเต็มที่แล้วก็จะทำให้การออกกำลังกายนั้นเป็นแอโรบิก
การออกกำลังกายแบบพลัยโอเมตริกจะเน้นที่ขาและสะโพกมากกว่าที่จะเน้นแขนและหัวไหล่ การเคลื่อนไหวของพลัยโอเมตริกอยู่ที่การก้าวสูงไปสู่ที่ว่าง
แล้วรวบรวมการคลื่อนไหวให้เร็วที่สุดก่อนที่จะเกิดการหดตัวทำงานที่ทำให้กล้ามเนื้อสั้นเข้า เริ่มจากผู้ออกกำลังการก้าวไปสู่ที่ว่างและทำให้แรงโน้มถ่วงของโลกเป็นตัวเร่งให้ร่างกายลงสู่พื้น ความสูงจะขึ้นกับสภาวะร่างกายของแต่ละคน
ลอมบาร์ได กล่าวว่า
การฝึกแบบพลัยโอเมตริกนั้นเป็นการรวมวิธีการกระโดดแบบต่างๆ การกระดอน
การเหวี่ยง
การบิดตลอดจนรวมถึงการเคลื่อนไหวในรูปแบบอื่นๆ
นิรันดร์
บุญยิ่ง กล่าวว่า การฝึกกำลังความแข็งแรงกล้ามเนื้อเพื่อพัฒนาปรับปรุงความเร็ว
จำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานการเคลื่อนไหวจากการเขย่งและการกระโดด
การออกกำลังกายแบบพลัยโอเมตริกถือได้ว่าเป็นหลักวิธีการอีกรูปแบบหนึ่งที่จะกระตุ้นหรือเปลี่ยนแปลงในระบบของประสาทกล้ามเนื้อ การเสริมสร้างความสามารถของกลุ่มกล้ามเนื้อต่อการตอบสนองให้เร็วขึ้นและเต็มกำลังรวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงความยาวของกล้ามเนื้อได้อย่างรวดเร็ว
สรุปได้ว่า
พลัยโอเมตริกเป็นการนำการฝึกกระโดดแบบต่างๆ
มาใช้โดยควบคุมกล้ามเนื้อให้เหยียดตัวก่อนแล้วเกิดแรงปฏิกิริยาสะท้อนแบบยืดตัว หรือสะท้อนแบบหดตัว ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า
การหดตัวของกล้ามเนื้อจะเพิ่มความแข็งแรงมากกว่าเมื่อมีการเหยียดกล้ามเนื้อนั้นออกก่อนเป็นการเน้นความตึงเครียดของระบบประสาท และ
กล้ามเนื้อ
สำหรับบรีเฟล์กซ์ยืดตัวนั้นเป็นเฟล์กซ์ที่ใช้รักษาท่าทางของร่างกาย แต่สามารถนำมาใช้ช่วยการเคลื่อนไหวที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ เช่น
การกระโดดผู้กระโดดจะต้องย่อตัวก่อนเพื่อยืดกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกระโดด วิธีนี้จะช่วยเพิ่มความสูงของการกระโดดได้
ดังนั้นการฝึกพลัยโอเมตริกจึงนำไปสู่การปรับปรุงพลังระเบิดซึ่งเกิดจากการเพิ่มแรง และความเร็ว
ทฤษฏีเกี่ยวกับการฝึกด้วยน้ำหนัก
เดอลอร์มและวัตกินส์
แนะนำการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยวิธีโปรเกสส์
รีซิสแดนซ์ เอ็กเซอร์ไซส์
โดยใช้น้ำหนักสูงสุดที่สามารถยกได้
10 ครั้ง
ซึ่งโปรแกรมการฝึกของเดอลอร์มและวัตกินส์ที่เสนอใช้สำหรับการเพิ่มความแข็งแรงประกอบกับการออกกำลัง ทำทั้งหมด
3 ชุด ดังนี้
1. น้ำหนักที่ใช้ยกเท่ากับ 50 %
ของ 10 – RM ยก
10 ครั้ง
2. น้ำหนักที่ใช้ยกเท่ากับ 75 % ของ
10 – RM ยก 10
ครั้ง
3. น้ำหนักที่ใช้ยกเท่ากับ 100% ของ
10 – RM ยก 10
ครั้ง
การฝึกด้วยน้ำหนักเป็นการออกกำลังกายที่เป็นไปตามกฎของการใช้และไม่ใช้
เพราะเป็นการฝึกกล้ามเนื้อให้ทำงานต้านทานที่สูงกว่าปกติที่กล้ามเนื้อมัดนั้นเคยทำ โดยใช้หลักการฝึกน้ำหนักเกินปกติทำให้กล้ามเนื้อต้องปรับสภาพภายในกล้ามเนื้อให้สามารถเอาชนะแรงต้านทานนั้น ผลของการฝึกคือ กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง ความอดทนเพิ่มมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น